...ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความจริงใจครับ...

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ปวช.

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการกำจัดหอยเชอรี่โดยใช้น้ำหมักชีวภาพต่าง ๆ ผสมปูนแดง
ผู้จัดทำ  นายอินทัช  นวลจันทร์
          นางสาวชบธิชา  จันทร์ชาวนา
          นางสาวนารี  จานุ
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาทดลองใช้น้ำหมักชีวภาพชนิดต่าง ๆ ในการกำจัดหอยเชอรี่เพื่อเปรียบเทียบว่าน้ำหมักชนิดใดสามารถกำจัดหอยเชอรี่ได้ดีกว่ากันโดยน้ำหมักชีวภาพชนิดต่าง ๆ ผสมน้ำปูนแดง โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Random Design : CRD) ประกอบด้วย 1. น้ำปูนแดงอย่างเดียว 2. น้ำใบสะเดาผสมปูนแดง 3. น้ำใบขี้เหล็กผสมน้ำปูนแดง 4. น้ำใบมันสำปะหลังผสมน้ำปูนแดง 5. น้ำใบยูคาลิปตัสผสมน้ำปูนแดง 6. น้ำใบพลูผสมน้ำปูนแดง ผลสรุปคือ การกำจัดหอยเชอรรี่ด้วยน้ำใบสะเดาผสมน้ำปูนแดง ปรากฏว่าได้ผลดีที่สุดคือ 23 ตัว จาก 28 ตัว น้ำปูนแดงอย่างเดียวปรากฏว่ากำจัดหอยเชอรี่ได้ 21 ตัว จาก 28 ตัว น้ำใบมันสำปะหลังผสมน้ำปูนแดงกำจัดหอยเชอรี่ได้ 20 ตัว จาก 28 ตัว น้ำใบพลูผสมน้ำปูนแดงกำจัดหอยเชอรี่ได้ 18 ตัว จาก 28 ตัว น้ำใบยูคาลิปตัสผสมน้ำปูนแดงกำจัดหอยเชอรี่ได้ 14 ตัว จาก 28 ตัว น้ำใบขี้เหล็กผสมน้ำปูนแดง ปรากฏว่าได้ผลน้อยที่สุดคือ 11 ตัว จาก 28 ตัว โดยอัตราส่วนผสมน้ำหมักชีวภาพชนิดต่าง ๆ กับปูนแดงอย่างละ 200 มิลลิลิตร



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเลี้ยงกบในขวดโดยเปรียบเทียบยี่ห้ออาหารที่ต่างกัน
ผู้จัดทำ  นายอำนาจ  สุขกุมภาพันธ์
          นางสาวสุมิตรา  อำเพริดเพรา
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          ในการศึกษาทำการทดลอง เรื่องการเลี้ยงกบในขวดโดยเปรียบเทียบยี่ห้ออาหารที่ต่างกันมีอาหารกบ 3 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ S.82, ยี่ห้อเบทาโกร และยี่ห้อ NO.53
          โดยการแบ่งกลุ่มกบในขวดออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 17 ขวด และให้จำนวนอาหารที่เท่ากันคือขวดละ 5 เม็ด จำนวน 2 มื้อ เช้า-เย็น เลี้ยงตั้งแต่ระยะที่ 1 จนถึงระยะที่ 3 จึงทำการชั่งน้ำหนักทุกตัว
          จากการศึกษาผลการทดลอง การเลี้ยงกบในขวดโดยเปรียบเทียบยี่ห้ออาหารที่ต่างกัน ประสบผลสำเร็จ


โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเจริญเติบโตของกุ้งฝอยโดยใช้อาหารต่างชนิด
ผู้จัดทำ  นายวัชรพงษ์  ประทุมเจริญ
          นายวุฒิชัย  สามเพชรเจริญ
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          ในการศึกษาทำการทดลอง เรื่อง 3 สิ่งทดลอง มี อาหารกุ้ง, อาหารปลา, รำข้าว โดยการใช้อัตราน้ำที่เท่ากัน และใส่กุ้งฝอยที่เท่ากันจากนั้น วัดผลการเจริญเติบโตของกุ้งฝอยในแต่ละอ่าง
          จากการศึกษาผลการทดลองการเจริญเติบโตของกุ้งฝอยการทดลองเป็นประสบผลสำเร็จ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการใช้อาหารเสริมชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักกบ
ผู้จัดทำ  นายสมเกียรติ  อินทร์จันทร์
          นายพชรพล  เพชรเนียน
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของกบใช้การทดลองแบบสุ่มทดลองแบบสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD)
สิ่งทดลองที่ 1 อาหารสำเร็จรูป
สิ่งทดลองที่ 2 อาหารสำเร็จรูป + กล้วยน้ำว้า + อาหารปลาดุก        3:2:1 กรัม
สิ่งทดลองที่ 3 อาหารสำเร็จรูป + กล้วยน้ำว้า + อาหารปลานิล        3:2:1 กรัม
สิ่งทดลองที่ 4 อาหารสำเร็จรูป + กล้วยน้ำว้า  + อาหารแมว          3:2:1 กรัม
สิ่งทดลองที่ 5 อาหารสำเร็จรูป + กล้วยน้ำว้า + อาหารสุนัข           3:2:1 กรัม
ในแต่ละสิ่งทดลองจะมีกบจำนวน 25 ตัว โดยจะคิดเป็นซ้ำละ 5 ตัว
          เริ่มเลี้ยง 12 สิงหาคม 2554 – 12 ตุลาคม 2554 โดยชั่งน้ำหนักกบแต่ละซ้ำก่อนการจับกบใส่ในพลาสติกและชั่งน้ำหนักทุก 30 วัน เลี้ยงนาน 60 วัน
          ผลการทดลอง ปรากฏว่าสิ่งทดลองที่ 2 ได้รับน้ำหนักเฉลี่ยที่มากที่สุดคือ 98 กรัม รองลงมา สิ่งทดลองที่ 1, 3, 4 และ 5 มีน้ำหนักเฉลี่ย 90, 81.2, 64 และ 63 ตามลำดับ




โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุก
ผู้จัดทำ  นายไพฑูรย์  รวมญาติ
          นายจินดา  แก้วพฤกษ์
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุกใช้การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) ประกอบด้วย 10 สิ่งทดลอง ดังนี้คือ
          สิ่งทดลองที่ 1 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ  10:10:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 2 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ    8:12:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 3 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ    6:14:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 4 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ    4:16:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 5 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ    2:18:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 6 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ        10:10:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 7 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ          8:12:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 8 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ          6:14:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 9 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ          4:16:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 10 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ        2:18:5 กรัม
ในแต่ละสิ่งทดลองจะมีปลาดุกจำนวน 20 ตัว โดยจะคิดเป็นซ้ำละ 1 ตัว
          เริ่มเลี้ยงวันที่ 3 กันยายน 2550 โดยชั่งน้ำหนักปลาแต่ละซ้ำก่อนปล่อยลงในรองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 90 ซม. ให้อาหารผสมวันละ 1 ครั้ง และชั่งน้ำหนักทุก 25 วัน เลี้ยงนาน 50 วัน
          ผลการทดลอง ปรากฏว่าสิ่งทดลองที่ 6 ได้รับน้ำหนักผลเฉลี่ยที่มากที่สุด 90.1 กรัม รองลงมา สิ่งทดลองที่ 3, 4, 1, 9, 5, 10, 8, 2 และ 7 มีน้ำหนักเฉลี่ย 89.7, 89.5, 88.3, 88.2, 87.6, 85.6, 85.3, 84.8, 83.2 ตามลำดับ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเลี้ยงกบในขวดโดยเปรียบเทียบยี่ห้ออาหารที่ต่างกัน
ผู้จัดทำ  นายประสิทธิ์  เชยคาน
          นายภูวดล  คล้ายเชย
          นางสาวอัฐภิญญา  นิลสาริกา
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          ในการศึกษาทำการทดลอง เรื่องการเลี้ยงกบในขวดโดยเปรียบเทียบยี่ห้ออาหารที่ต่างกัน มีอาหารกบ 3 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ S.82 ยี่ห้อเบทาโกร และยี่ห้อ No.53
          โดยการแบ่งกลุ่มกบในขวดออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 17 ขวด และให้จำนวนอาหารที่เท่ากัน คือขวดละ 5 เม็ด จำนวน 2 มื้อ เช้า-เย็น เลี้ยงตั้งแต่ระยะที่ 1 จนถึงระยะที่ 3 จึงทำการชั่งน้ำหนักทุกตัว
          จากการศึกษาผลการทดลอง การเลี้ยงกบในขวดโดยเปรียบเทียบยี่ห้ออาหารที่ต่างกัน ประสบผลสำเร็จ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการกำจัดหนอนแมลงวันโดยใช้สารสกัดสมุนไพรชนิดต่าง ๆ
ผู้จัดทำ  นางสาววนัสนันท์  ปัญญายิ่ง
          นางสาวชวัญฤดี  สุคนธา
          นายอานนท์  ราญรอน
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          การทดลองเรื่องการศึกษาสมุนไพรกำจัดแมลงวัน โดยการเลือกสมุนไพรที่แตกต่างกันโดยการวางแผนทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 5 สิ่งทดลอง (Treatment) 3 ซ้ำ
          Treatment ที่ 1 น้ำหมักผลไม้รวม 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
          Treatment ที่ 2 น้ำหมักสะเดา 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
          Treatment ที่ 3 น้ำหมักกระเพรา 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
          Treatment ที่ 4 น้ำหมักกระเทียม 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
          Treatment ที่ 5 น้ำหมักกระชาย 500 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
          ทำการทดลอง 30 วันคือ วันที่ 15 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2554 เก็บข้อมูลโดยการบันทึกการตายของหนอนแมลงวัน




โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการทดลองอาหารในลูกปลาตะเพียน
ผู้จัดทำ  นายสิทธิกร  แซ่ลิ้ม
          นายวงศธร  ฤทธิ์จันทร์
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาผลการทดลองการให้อาหารเสริมเพื่อดูการเจริญเติบโตของลูกปลาตะเพียนอายุ 1 สัปดาห์ โดยการใช้อาหารเสริม 3 ชนิด คือ ปลาป่น ไข่แดงต้มบดละเอียด รำละเอียด และอาหารเม็ดปกติ โดยให้ลูกปลากินเป็นเวลา 1 เดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการเจริญเติบโตของลูกปลาตะเพียน โดยทำการทดลอง 4 Treatment มีรายละเอียดดังนี้
          1 Treatment ที่ 1 ผสมปลาป่น อัตรา 5 กรัม
          2 Treatment ที่ 2 ผสมไข่แดงต้ม อัตรา 5 กรัม
          3 Treatment ที่ 3 ผสมรำละเอียด อัตรา 5 กรัม
          4 Treatment ที่ 4 อาหารเม็ดปกติ
          โดยการนำเอาอาหารเม็ดมาบดละเอียดผสมกับอาหารเสริมละลายน้ำ แล้วนำมาให้ลูกปลากินทุกวัน เพื่อทดลองดูการเจริญเติบโต ผลสรุปว่า การใช้อาหารเสริมทั้ง 3 ชนิดลูกปลาก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี และในอาหารเม็ดปกติก็เจริญเติบโตดี เช่นกัน
          ในการทดลองครั้งนี้ การเจริญเติบโตของลูกปลาที่ได้กินอาหารเม็ดบดละเอียดผสมกับไข่แดงต้มมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด ตามด้วย อาหารเม็ดบดละเอียดผสมกับปลาป่นตามด้วย อาหารเม็ดบดละเอียดผสมกับรำละเอียด และอาหารเม็ดปกติ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการทดลองการวางไข่ของกุ้งฝอย
ผู้จัดทำ  นายภาณุพงษ์  สุวรรณกูฏ
          นายปัญญา  เขียนทอง
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          ในการศึกษาทำการทดลอง เรื่อง 3 สิ่งทดลอง มี น้ำนิ่ง น้ำหยด น้ำมีออกซิเจน โดยการใช้อัตราน้ำที่เท่ากัน และใส่กุ้งฝอยที่เท่ากัน จากนั้นวัดผลการว่างไข่ของกุ้งฝอยในแต่ละอ่าง
          จากการศึกษาผลการทดลองการว่างไข่ของกุ้งฝอยการทดลองประสบผลสำเร็จ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องผลผลิตของกบโดยใช้อาหารเสริมชนิดต่าง ๆ
ผู้จัดทำ  นางสาวอุไรวรรณ  ภู่บุตร
          นายอัครฤทธิ์  นิลอ่อน
          นายศิริชัย  เพละ
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของกบใช้การทดลองแบบสุ่มทดลองแบบสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD)
สิ่งทดลองที่ 1 อาหารสำเร็จรูป
สิ่งทดลองที่ 2 อาหารสำเร็จรูป + กล้วยน้ำว้า + อาหารปลาดุก        3:2:1 กรัม
สิ่งทดลองที่ 3 อาหารสำเร็จรูป + กล้วยน้ำว้า + อาหารปลานิล        3:2:1 กรัม
สิ่งทดลองที่ 4 อาหารสำเร็จรูป + กล้วยน้ำว้า  + อาหารแมว          3:2:1 กรัม
สิ่งทดลองที่ 5 อาหารสำเร็จรูป + กล้วยน้ำว้า + อาหารสุนัข           3:2:1 กรัม
ในแต่ละสิ่งทดลองจะมีกบจำนวน 25 ตัว โดยจะคิดเป็นซ้ำละ 5 ตัว
          เริ่มเลี้ยง 12 สิงหาคม 2554 – 12 ตุลาคม 2554 โดยชั่งน้ำหนักกบแต่ละซ้ำก่อนการจับกบใส่ในพลาสติกและชั่งน้ำหนักทุก 30 วัน เลี้ยงนาน 60 วัน
          ผลการทดลอง ปรากฏว่าสิ่งทดลองที่ 2 ได้รับน้ำหนักเฉลี่ยที่มากที่สุดคือ 98 กรัม รองลงมา สิ่งทดลองที่ 1, 3, 4 และ 5 มีน้ำหนักเฉลี่ย 90, 81.2, 64 และ 63 ตามลำดับ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการป้องกันโรคบิดในไก่พื้นบ้าน
ผู้จัดทำ  นายเพิ่มพูน  อยู่ญาติมาก
          นางสาวศุภัสสร  อ่อนส้มกิจ
          นางสาวอารีรัตน์  จิตตรีรมย์
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาผลการป้องกันการเกิดโรคบิดในไก่เนื้อโดยการใช้อาหารเสริม 4 ชนิด ซึ่งมี กล้วยดิบ ใบฝรั่ง พริก กระเทียม และอาหารปกติ ให้ไก่กินเป็นเวลา 45 วัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการป้องกันการเกิดโรคบิดในไก่ โดยทำการทดลอง 5 Treatment 3 Replications มีรายละเอียด ดังนี้
          1 Treatment ที่ 1 ผสมใบฝรั่งแห้ง อัตรา 30 กรัม
          2 Treatment ที่ 2 ผสมกระเทียมตากแห้ง อัตรา 30 กรัม
          3 Treatment ที่ 3 ผสมใบพริกแห้ง อัตรา 30 กรัม
          4 Treatment ที่ 4 ผสมกล้วยน้ำว้าดิบ  อัตรา 30 กรัม
          5 Treatment m 5 อาหารอัดเม็ดปกติ
          โดยการนำเอาอาหารอัดเม็ดมาผสมกับอาหารเสริมที่ตากแห้งและบดละเอียด แล้วมาผสมให้ไก่กินทุกวัน เพื่อทดลองดูผลของการป้องกันโรค ผลสรุปปรากฏว่า การใช้อาหารเสริมทั้ง 4 ชนิดนี้ ไม่พบการเกิดโรคบิดในไก่เลย และในอาหารอัดเม็ดก็ไม่พบการเกิดโรคบิดในไก่เช่นกัน
          ในการทดลองครั้งนี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของไก่ควบคู่ไปด้วย ผลที่ได้ออกมาคือ ไก่ที่กินอาหารอัดเม็ดผสมกับใบฝรั่ง และอาหารอัดเม็ดผสมกับกล้วยน้ำว้าดิบ จะมีหนักดีกว่าไก่ที่กินอาหารอัดเม็ดผสมกับใบพริก และอาหารอัดเม็ดผสมกับกระเทียม



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องน้ำหมักมะม่วงและมะละกอเพื่อกำจัดเห็บโค
ผู้จัดทำ  นายพงศ์ศิริ  จันทร์อ่ำ
          นายศุภนิตย์  ฉายแก้ว
          นายนำโชค  โชติกเสถียร
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
          เห็บโคเป็นพยาธิภายนอกที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรที่เลี้ยงโคนมมากที่สุด จากการศึกษาฤทธิ์ของน้ำหมักจากมะม่วงและมะละกอและการศึกษาใช้น้ำหนักจากมะม่วงและมะละกอหมักร่วมกันเพื่อหาระดับของน้ำหนักที่เหมาะสมในการกำจัดเห็บโค จากการทดลองครั้งนี้ได้วางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) ได้ทำการทดลอง 2 การทดลอง คือ 1 การแยกน้ำหมักจากมะม่วงและมะละกอเพื่อหาฤทธิ์ของผลไม้แต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติที่นัยสำคัญ 0.05 และ 0.01 ที่มีผลต่อการกำจัดเห็บโคการทดลองที่ 2 การนำมะม่วงและมะละกอมาหมักร่วมกันไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเป็นไปได้ 0.05 และ 0.01 นำไปเจือจางในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ได้ระดับของน้ำหมักที่เหมาะสม เพื่อความประหยัด
          จากการทดลองนี้ ผลที่ได้คือ น้ำหมักจากมะม่วงและมะละกอ สามารถกำจัดเห็บโคได้โดยทำให้เห็บฝ่อลีบ แห้งตาย โดยไม่สามารถวางไข่ได้ และนำมาเจือจางในระดับ 3 เท่า สามารถทำให้เห็บตายได้ในการทดลองครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ คือควรศึกษาต่อในเรื่องเมื่อน้ำหมักไปฉีดพ่นบนตัวโคแล้ว เห็บตัวอ่อนและตัวกลางวัยจะตายด้วยหรือไม่



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องอาหารเสริมปลาดุก
ผู้จัดทำ  นางสาวดวงหทัย  อิ่มสุดรส
          นายเสริมศักดิ์  โฆษะบดี
          นายธนวัฒน์  สุขเจริญ
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การศึกษาทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของปลาดุกใช้การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) ประกอบด้วย 10 สิ่งทดลอง ดังนี้คือ
          สิ่งทดลองที่ 1 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ  10:10:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 2 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ    8:12:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 3 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ    6:14:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 4 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ    4:16:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 5 อาหารสำเร็จรูป + หนอนขี้หมู + รำ    2:18:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 6 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ        10:10:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 7 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ          8:12:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 8 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ          6:14:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 9 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ          4:16:5 กรัม
          สิ่งทดลองที่ 10 อาหารสำเร็จรูป + มูลไก่ + รำ        2:18:5 กรัม
ในแต่ละสิ่งทดลองจะมีปลาดุกจำนวน 20 ตัว โดยจะคิดเป็นซ้ำละ 1 ตัว
          เริ่มเลี้ยงวันที่ 3 กันยายน 2550 โดยชั่งน้ำหนักปลาแต่ละซ้ำก่อนปล่อยลงในรองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 90 ซม. ให้อาหารผสมวันละ 1 ครั้ง และชั่งน้ำหนักทุก 25 วัน เลี้ยงนาน 50 วัน
          ผลการทดลอง ปรากฏว่าสิ่งทดลองที่ 6 ได้รับน้ำหนักผลเฉลี่ยที่มากที่สุด 90.1 กรัม รองลงมา สิ่งทดลองที่ 3, 4, 1, 9, 5, 10, 8, 2 และ 7 มีน้ำหนักเฉลี่ย 89.7, 89.5, 88.3, 88.2, 87.6, 85.6, 85.3, 84.8, 83.2 ตามลำดับ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการศึกษาการเพาะเลี้ยงไรแดงโดยใช้น้ำทิ้ง
ผู้จัดทำ  นายอังคาร  กัวพู่
          นางสาวกัญณิการ์  รักขุมแก้ว
          นางสาวสุภาวดี  อวยชัย
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การศึกษาการเพาะเลี้ยงไรแดงโดยใช้น้ำทิ้งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เปรียบเทียบน้ำแต่ละสถานที่โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่ม CRD (Completely Random Design) ประกอบด้วย 5 Treatments 3 ซ้ำ คือ 1. น้ำทิ้งจากคอกสุกร 2. น้ำทิ้งจากคอกโคนม 3. น้ำทิ้งจากคอกโรงอาหารปฏิรูป 4. โรงผลิตนม 5. น้ำเปล่า (เป็น Treatments เสริม) โดยหมักกับอาหารเวลา 3 วัน จากนั้นใส่น้ำเขียวหมักเวลา 3 วัน แล้วค่อยใส่ไรแดงทิ้งไว้ 5 วัน ผลการทดลองพบว่าน้ำหมักจากคอกโคนมแตกต่างจากน้ำทิ้งชนิดอื่นมากอย่างมีนัยสำคัญย่อง




โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการใช้สารสกัดจากใบผักคราดในการกำจัดหมัดและสุนัข
ผู้จัดทำ  นายภาณุพงศ์  มากประโคน
          นายอิทธิศักดิ์  กรีธาพล
          นายปฏิรพ  ยศอินทร์
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การศึกษาทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของผักคราดในการกำจัดหมัดและเห็บสุนัข ใช้การทดลองสุ่มแบบสมบูรณ์
          สิ่งทดลองที่ 1 เห็บระยะตัวอ่อน จำนวน 10 ซ้ำ
          สิ่งทดลองที่ 2 เห็บระยะตัวเต็มวัย จำนวน 10 ซ้ำ
          โดยใช้เวลาทดลอง 10, 30 และ 90 นาที
          ผลการทดลองปรากฏว่า การใช้ผักคราดกำจัดหมัดและเห็บสุนัขที่เวลา 90 นาที หมัดและเห็บสุนัขทุกตัวตายหมด



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการทดลองสารชีวภาพในผักกวางตุ้งฮ่องเต้ (เปอร์เซ็นการรอดของแมลงในผักกวางตุ้งฮ่องเต้)
ผู้จัดทำ  นางสาวเมธญา  นาคประสูติ
          นายธนากร  แสงผล
          นายพีรวัฒน์  สนใจยิ่ง
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การทดลองใช้สารชีวภาพในผักกวางตุ้งฮ่องเต้ โดยใช้สารสะเดา สารตะไคร้ น้ำส้มควันไม้ น้ำยาสูบ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มทั้งหมด 4 Treatment 3 ซ้ำ ปรากฏผลการทดลอง ดังนี้
          Treatment ที่ 1 คือสารสะเดา สามารถกำจัดแมลงในผักกวางตุ้งฮ่องเต้ได้ดีที่สุด คือ 85%
          Treatment ที่ 2 คือสารตะไคร้ สามารถกำจัดแมลงในผักกวางตุ้งฮ่องเต้รองลงมา คือ 77%
          Treatment ที่ 3 คือส้มควันไม้ สามารถกำจัดแมลงในผักกวางตุ้งฮ่องเต้ อันดับ 3 คือ 68%
          Treatment ที่ 4 คือยาสูบ สามารถกำจัดแมลงในผักกวางตุ้งฮ่องเต้ได้ 49%



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเปรียบเทียบผลผลิตของถั่วงอก
ผู้จัดทำ  นายสิทธศักดิ์  จิวเจริญ
          นายยงยุทธ  สระทองยุ้ง
          นายจรัญ  คำขัน
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบผลผลิตของถั่วงอก โดยการให้น้ำที่แตกต่างกัน โดยการวางแผนการทดลองแบบสุ่มทั้งหมด 3 Treatment 4 ซ้ำ ปรากฏผลการทดลอง ดังนี้
Treatment ที่ 1 ระยะเวลาการให้น้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด คือ 186.25 กรัม รองลงมาคือ Treatment ที่ 2 ระยะเวลาการให้น้ำทุก ๆ 3 ชั่วโมง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 183.75 กรัม สุดท้ายคือ Treatment ที่ 3 ระยะเวลาการให้น้ำทุก ๆ 4 ชั่วโมง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 168.75 กรัม ตามลำดับ




โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตของเห็ดฟางในตะกร้า โดยใช้อาหารเสริมต่างชนิดกัน
ผู้จัดทำ  นายสุทธินันท์  แดงชาติแท้
          นายภิญโญ  พุ่มพิรัตน์
          นายสุกรี  บุญอาจ
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตของการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า โดยใช้อาหารเสริมชนิดต่าง ๆ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตของการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าจากอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กากมัน ผักตบชวา ชานอ้อย หยวกกล้วย ฟางข้าว
วิธีดำเนินการ ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตำแหน่งตะกร้าในเตา มี 5 สิ่งทดลอง สิ่งทดลองละ 3 ซ้ำ
สิ่งทดลองที่ 1 ใช้ก้อนเห็นนางรมเก่าที่เพาะแล้ว 12 กก. + แป้งข้าวเหนียว 50 ก. + เชื้อเห็ดฟาง 100 ก. + กากมัน 1 ลิต
สิ่งทดลองที่ 2 ใช้ก้อนเห็ดนางรมเก่าที่เพาะแล้ว 12 กก. + แป้งข้าวเหนียว 50 ก. + เชื้อเห็ดฟาง 100 ก. + ผักตบชวา 1 ลิตร
สิ่งทดลองที่ 3 ใช้ก้อนเห็ดนางรมเก่าที่เพาะแล้ว 12 กก. + แป้งข้าวเหนียว 50 ก. + เชื้อเห็ดฟาง 100 ก. + ชานอ้อย 1 ลิตร
สิ่งทดลองที่ 4 ใช้ก้อนเห็ดนางรมเก่าที่เพาะแล้ว 12 กก. + แป้งข้าวเหนียว 50 ก. + เชื้อเห็ดฟาง 100 ก. + หยวกกล้วย 1 ลิตร
สิ่งทดลองที่ 5 ใช้ก้อนเห็ดนางรมเก่าที่เพาะแล้ว 12 กก. + แป้งข้าวเหนียว 50 ก. + เชื้อเห็ดฟาง 100 ก. + ฟางข้าว 1 ลิตร
ผลการทดลองพบว่า สิ่งทดลองที่ 2 การใช้ผักตบชวาเป็นอาหารเสริมให้ผลผลิตได้น้ำหมักมากที่สุดเฉลี่ย 990 กรัม/ตะกร้า รองลงมาคือ สิ่งทดลองที่ 1 การใช้กากมันเป็นอาหารเสริมให้น้ำหมักผลผลิต เฉลี่ย 810 กรัม/ตะกร้า อันดับ 3 คือ ใช้หยวกกล้วยเป็นอาหารเสริมให้น้ำหมักผลผลิต เฉลี่ย 673.33 กรัม/ตะกร้า อันดับ 4 คือชานอ้อยเป็นอาหารเสริมกับฟางข้าวเป็นอาหารเสริมได้น้ำหมักผลผลิตเฉลี่ย 540 กรัม/ตะกร้า



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการปลูกผักบุ้งโดยใช้เมล็ดพันธุ์ ที่ต่างบริษัทในโรงเรือน Hydroponics
ผู้จัดทำ  นายพีรวัส  ดพันธุ์ ที่ต่างบริษัทในโรงเรือน  4 คือชานอ้อยเป็นอาหารเสริมกับฟางข้าวเป็นอาหารเสริมได้น้ำ้วยเป็นอาหารเสริมให้น้ำเพาะเภู่นภาประเสริฐ
          นายจิรายุ  เรืองเทศ
          นายไพบูลย์  จิตรดี
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การปลูกผักบุ้งโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ต่างบริษัทในโรงเรือน Hydroponics มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจากบริษัทที่ต่างกันในโรงเรือน Hydroponics วางแผนการทดลองแบบสุ่มทั้งหมด 4 Treatment 3 ซ้ำ ปรากฏผลดังนี้
          Treatment ที่ 3 พันธุ์สามเอ ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 4.5 กิโลกรัม
          Treatment ที่ 4 พันธุ์ทองพูน ให้ผลผลิตเฉลี่ยรองลงมา 3.75 กิโลกรัม
          Treatment ที่ 2 พันธุ์เฟื่องฟูทวีคณู ให้ผลผลิตเฉลี่ยอันดับ 3 คือ 3.45 กิโลกรัม
          และสุดท้าย คือ Treatment ที่ 1 พันธุ์เรียงไผ่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3.15 กิโลกรัม ตามลำดับ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเปรียบเทียบปุ๋ยแต่ละชนิดต่อผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน
ผู้จัดทำ  นางสาวอารียา  รักขุมแก้ว
          นางสาวภัทธิยา  จะแจ้ง
          นางสาวอรวรรณ  ฉายราศรี
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบปุ๋ยแต่ละชนิดต่อผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนต่อการใช้ปุ๋ยต่างกัน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มทั้งหมด 4 Treatment 3 ซ้ำ ปรากฏผลการทดลอง ดังนี้
Treatment ที่ 2 ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด คือ 8.26 กิโลกรัม
Treatment ที่ 1 ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด คือ 8.26 กิโลกรัม
Treatment ที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์ (ปลาสกัด) ให้ผลผลิตเฉลี่ยอันดับ 3 คือ 8.06 กิโลกรัม
และสุดท้ายคือ Treatment ที่ 4 ปุ๋ยคอกขี้ไก่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด คือ 7.76 กิโลกรัมตามลำดับ




โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเปรียบเทียบผลผลิตของเห็ดนางรมที่ฉีดพ่นด้วยสารละลายลิโพในความเข้มข้นต่างกัน
ผู้จัดทำ  นายคุณากร  เกรียท่าทราย
          นายภาณุวัฒน์  อ่อนโพธิ์แก้ว
          นายฐาปิ่นพงษ์  สุขกรี
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบผลผลิตของเห็ดนางรมที่ฉีดพ่นด้วยการละลายลิโพด้วยความเข้มข้นต่างกัน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มทั้งหมด 4 Treatment 5 ซ้ำ ปรากฏผลการทดลองดังนี้
Treatment ที่ 1 ฉีดพ่นด้วยลิโพความเข้มข้น 60 cc. ให้ผลผลิตเฉลี่ยดีที่สุด คือ 584 กรัม
Treatment ที่ 3 ฉีดพ่นด้วยลิโพความเข้มข้น 40 cc. ให้ผลผลิตเฉลี่ยรองลงมา คือ 310 กรัม
Treatment ที่ 2 ฉีดพ่นด้วยลิโพความเข้มข้น 50 cc. ให้ผลผลิตเฉลี่ยอันดับ 3 คือ 292 กรัม
Treatment ที่ 4 ฉีดพ่นด้วยน้ำเปล่า ให้ผลผลิตน้อยที่สุด คือ 208 กรัม ตามลำดับ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเปรียบเทียบผลผลิตของเห็ดนางฟ้าภูฐานที่ฉีดพ่นด้วยเครื่องดื่มชูกำลัง น้ำตาลกลูโคส และน้ำ
ผู้จัดทำ  นายสมจันทร์  กัวพู้
          นายนิพนธ์  ชัยศิริกุล
          นายนภดล  คงติด
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบผลผลิตเห็ดนางฟ้าภูฐานที่ฉีดพ่นด้วยเครื่องดื่มชูกำลัง น้ำตาลกลูโคส และน้ำ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มทั้งหมด 4 Treatment 3 ซ้ำ ปรากฏผลการทดลอง ดังนี้
Treatment ที่ 3 ลิโพสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดีที่สุด น้ำหนักเฉลี่ย 3.66 กิโลกรัม
รองลงมาคือ Treatment ที่  4 น้ำเปล่าสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ได้เฉลี่ย 3.6 กิโลกรัม
รองลงมาคือ Treatment ที่ 2 M150 สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้เฉลี่ย 3.26 กิโลกรัม
และสุดท้ายคือ Treatment ที่ 1 น้ำตาลกลูโคสสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้เฉลี่ย 3.63 กิโลกรัม ตามลำดับ



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการปลูกถั่วงอกเพื่อเปรียบเทียบวัสุดการเพาะ
ผู้จัดทำ  นางสาวกุลธรา  กลิ่นดอกแก้ว
          นางสาวมินตรา  น้ำดอกไม้
          นางสาวณิชา  น้ำดอกไม้
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
ในการศึกษาทำการทดลอง เรื่อง 3 สิ่งทดลอง มีทราย ขี้เถาแกลบ ขุยมะพร้าว โดยการใช้เมล็ดถั่วงอกที่เท่ากัน 300 เมล็ด และรดน้ำที่เท่ากันพร้อมกับใส่น้ำตาลกูลโคสในปริมาณที่เท่ากัน จากนั้นวัดผลจากการวัดความยาวและน้ำหนัก
          จากการศึกษาผลการทดลองการปลูกถั่วงอกในการทอลงเป็นประสบผลสำเร็จ





โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการเปรียบเทียบผลผลิตของเห็ดฟางโดยใช้วัสดุที่แตกต่างกัน
ผู้จัดทำ  นายอนุพันธ์  ดินสีทอง
          นายฐานพล  จันทร์เจริญ
          นายวรฉัตร  กระโบ้
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การเปรียบเทียบผลผลิตของเห็ดฟางในกระสอบโดยใช้วัสดุที่แตกต่างกัน ได้แก่ ใส่นุ่น ผักตบชวา ขี้เลื่อยผสมดิน ใช้แผนการทดลองแบบสุ่ม โดยชนิดวัสดุฟางทั้งหมดเป็นพื้นฐาน มี 4 Treatment 3 ซ้ำ
Treatment 1 ใส่นุ่นใช้ปริมาณที่เท่ากัน 5 กก. : 1 ซ้ำ + เชื้อเห็ด 1 ก้อน + อาหารเสริม 10 กรัม + แป้งข้าวเหนียว 1 กำมือ + ปุ๋ยยูเรีย 1 กำมือ
Treatment 2 ผักตบชวาใช้ปริมาณที่เท่ากัน 5 กก. : 1 ซ้ำ + เชื้อเห็ด 1 ก้อน + อาหารเสริม 10 กรัม + แป้งข้าวเหนียว 1 กำมือ + ปุ๋ยยูเรีย 1 กำมือ
Treatment 3 หยวกกล้วยใช้ปริมาณที่เท่ากัน 5 กก. : 1 ซ้ำ + เชื้อเห็ด 1 ก้อน + อาหารเสริม 10 กรัม + แป้งข้าวเหนียว 1 กำมือ + ปุ๋ยยูเรีย 1 กำมือ
Treatment 4 ขี้เลื่อยผสมดินใช้ปริมาณที่เท่ากัน 5 กก. : 1 ซ้ำ + เชื้อเห็ด 1 ก้อน + อาหารเสริม 10 กรัม + แป้งข้าวเหนียว 1 กำมือ + ปุ๋ยยูเรีย 1 กำมือ




โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องเปรียบเทียบน้ำหนักการเผา และระยะการติดไฟของไม้ชนิดต่าง ๆ
ผู้จัดทำ  นายวัชระ  งัดโครกกรวด
          นายณรงศักดิ์  ทองเรือง
          นายบุญพงศ์  บุญแย้ม
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
โครงงานนี้เป็นการทดลองเปรียบเทียบน้ำหนักหลังการเผา และระยะการติดไฟของไม้ โดยเปรียบเทียบน้ำหนักหลังการเผาคือการนำไม้กระถิ่น สะเดา และมะขามที่มีน้ำหนัก 200 กก. มาเผาแล้ววัดน้ำหนักหลังการเผาว่าชนิดไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน
          ส่วนการวัดระยะการติดไฟของไม้คือ การนำถ่านที่ได้ของแต่ละชนิดมาเผาเพื่อวัดระยะการติดไฟ







โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องผลการใช้น้ำตาลทรายในอัตราส่วนที่ต่างกันในการยืดอายุดอกกุหลาบพันธุ์เลดี้ พิ้งค์
ผู้จัดทำ  นายชวนคริส  ชวนดี
          นายเมธา  แจ่มจันทร์
แผนกวิชา พืชศาสตร์ ปีการศึกษา 2554

บทคัดย่อ
การศึกษาผลการใช้น้ำตาลทรายในการยืดอายุการปักแจกันของกุหลาบพันธุ์เลดี้ พิ้งค์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาก็เพื่อศึกษาผลการใช้น้ำตาลทรายในอัตราส่วนต่างกัน ในการยืดอายุการปักแจกันของดอกกุหลาบพันธุ์เลดี้ พิ้งค์ ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) มี 7 สิ่งทดลอง สิ่งทดลองละ 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ดอก แต่ละสิ่งทดลองประกอบด้วยสารเคมีต่าง ๆ คือ 1. น้ำสะอาด 1 ลิตร + น้ำส้มสายชู 5 cc + ไฮเตอร์ 1 cc + น้ำตาลทราย 8 ช้อนชา Treatment ต่อ ๆ ไปก็ลดปริมาณน้ำตาลทรายลง Treatment ละ 1 ช้อนชา นำดอกกุหลาบพันธุ์เลดี้ พิ้งค์ มาคัดขนาดและคุณภาพใกล้เคียงกัน จำนวน 70 ดอก ปลิดใบทิ้งเหลือดอกละ 3 ใบ ตัดโคนก้านดอกให้ยาว 30 เซนติเมตร และเอียงทำมุมประมาณ 45 องศา ในน้ำ แล้วแช่ก้านดอกในสารละลายแต่ละสิ่งทดลองทันที ผลการทดลองพบว่า ทุก Treatment อยู่ได้นานที่สุด คือ 5 วัน ทุก Treatment และพบว่าดอกกุหลาบที่ปักแจกันในสารเคมีทุกกรรมวิธีมีคุณภาพดีกว่าดอกกุหลาบในชุดควบคุม



โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการวัดค่าน้ำหนักไก่
ผู้จัดทำ  นายธีรศักดิ์  พ่วงแจ่ม
          นายปัญญา  จะกู้
แผนกวิชา สัตวศาสตร์ ปีการศึกษา 2554
บทคัดย่อ
          การศึกษาการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบน้ำหมักของไก่ใช้อาหารต่างกัน ประกอบด้วย 4 สิ่งทดลอง
                   สิ่งทดลองที่ 1 อาหารสำเร็จรูป
                   สิ่งทดลองที่ 2 อาหารสำเร็จรูป+ข้าวโพด
                   สิ่งทดลองที่ 3 อาหารสำเร็จรูป+ปลายข้าว
                   สิ่งทดลองที่ 4 อาหารสำเร็จรูป+รำละเอียด
          ในแต่ละสิ่งทดลองจะมีไก่จำนวน 4 ตัว คิดเป็นซ้ำ ละ 1 ตัว
          เริ่มเลี้ยงตั้งแต่ 18 พฤศจิกายน 2553 โดยชั่งน้ำหนักไก่ก่อนปล่อยลงไปให้อาหารวันละ 2 ครั้ง และชั่งน้ำหนัก 14 วัน ต่อครั้ง เลี้ยง 49 วัน
          ผลการทดลอง ปรากฏว่าสิ่งทดลองที่ 2 ได้รับน้ำหนักผลเฉลี่ยที่มากที่สุด คือ 1.27 กิโลกรัม รองลงมาสิ่งทดลองที่ 3, 1 และ 4 มีน้ำหนักเฉลี่ย 1.22, 1.08, 0.98 กิโลกรัมตามลำดับ