...ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความจริงใจครับ...

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

โครงการ/โครงงานของนักศึกษา ปวส.

ชื่อโครงการ  การแตกหน่อของตะเกียงกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ขาวยูกิที่ใช้ปุ๋ยสูตรต่างๆ
ชื่อผู้ทดลอง  นายชินวัตร   ประดับไทย
                        ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง   สาขางานเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้
คณะกรรมการตรวจสอบโครงการ   นางอารีรัตน์   เอี่ยมอำนวย
                                       นางวาสนา     กองผัด
                                       นางนงลักษณ์   ลิ้มวนานนท์

บทคัดย่อ
การศึกษาการการแตกหน่อของตะเกียงกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ขาวยูกิที่ใช้ปุ๋ยสูตรต่างๆ ในการฉีดพ่นมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ดังนี้ 1.  เพื่อเปรียบเทียบความยาวของหน่อต้นแม่และหน่อใหม่ที่ใช้ปุ๋ยสูตรต่างๆ 2. เพื่อศึกษาการแตกหน่อและอัตราการเจริญเติบโตของกล้วยไม้พันธุ์ขาวยูกิที่ใช้ปุ๋ยสูตรต่างๆ โดยมีการ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ( Completely  Random  Design  : CRD )  ประกอบด้วย 5 Treatments  3  Replications  คือ
Treatments ที่ 1    ปุ๋ยสูตร 21 - 21 - 21
Treatments ที่ 2    ปุ๋ยสูตร 30 - 20 - 10 สลับกับปุ๋ยสูตร 21 - 21 - 21
Treatments ที่ 3    ปุ๋ยสูตร 30 - 10 - 10 สลับกับปุ๋ยสูตร 21- 21 - 21
Treatments ที่ 4    ปุ๋ยสูตร 30 - 10 - 20 สลับกับปุ๋ยสูตร 21 - 21 - 21
Treatments ที่ 5    ปุ๋ยสูตร 10 - 20 - 30 สลับกับปุ๋ยสูตร 21 - 21 - 21
จากการศึกษาพบว่าอัตราการเจริญเติบโตของหน่อต้นแม่ที่ใช้ สิ่งทดลองที่ 4 พ่นปุ๋ยเคมีสูตร         30 - 10 - 20 สลับกับสูตร 21 - 21 - 21 มีความสูงของหน่อตะเกียงต้นแม่มากที่สุดคือเฉลี่ย 35.67 เซนติเมตร/ต้น รองลงมาคือสิ่งทดลองที่ 2 คือปุ๋ยเคมีสูตร 30 - 20 - 10 สลับกับสูตร 21 - 21 - 21 สิ่งทดลองที่ 5 คือปุ๋ยเคมีสูตร 10 - 20 - 30  สลับกับสูตร 21 - 21 - 21 สิ่งทดลองที่ 1 คือปุ๋ยเคมีสูตร 21 - 21 - 21 และสิ่งทดลองที่ 3  คือปุ๋ยเคมีสูตร 30 - 10 - 10  สลับกับสูตร 21 - 21 - 21 มีความสูงของหน่อตะเกียงต้นแม่ เฉลี่ย 34.33  34.17  33.53 และ  33.00 เซนติเมตร/ต้น ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
ส่วนอัตราการเจริญเติบโตของหน่ออ่อนที่ใช้ พบว่า สิ่งทดลองที่ 1 คือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 21 - 21 - 21 มีผลทำให้หน่ออ่อนมีความสูงที่สุดเฉลี่ย 23.00 เซนติเมตร/ต้นรองลงมาคือ   สิ่งทดลองที่ 2 คือปุ๋ยเคมีสูตร    30 - 20 - 10 สลับกับสูตร 21 - 21 - 21  สิ่งทดลองที่5 คือปุ๋ยเคมีสูตร 10 - 20 - 30  สลับกับสูตร 21 - 21 - 21  สิ่งทดลองที่ 3 คือปุ๋ยเคมีสูตร 30 - 10 - 10  สลับกับสูตร 21 - 21 - 21  สิ่งทดลองที่ 4 คือปุ๋ยเคมีสูตร             30 - 10 - 20 สลับกับสูตร 21 - 21 - 21   เฉลี่ย 20.83  19.67  14.20 และ  10.33 เซนติเมตร/ต้น ตามลำดับเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ




ชื่อโครงการ  ปริมาณของจิบเบอเรลลินที่มีผลต่อการยืดลำต้นของชวนชม
ผู้วิจัย         นายอนุวัตร  เชื้อแถว
                         นางสาววณิภา  แววเขียว
                         ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาพืชสวน
คณะกรรมการตรวจสอบโครงการ  นางอารีรัตน์   เอี่ยมอำนวย
                                      นางวาสนา     กองผัด
                                      นางนงลักษณ์  ลิ้มวนานนท์

บทคัดย่อ
การศึกษาปริมาณของจิบเบอเรลลินที่มีผลต่อการยืดลำต้นของชวนชมวัตถุประสงค์ในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบการยืดลำต้นชวนชมโดยใช้จิบเบอเรลลิน ในอัตราส่วนต่างๆโดยใช้การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ( CRD ) ประกอบด้วย 5 สิ่งทดลอง 3 ซ้ำ   ดังนี้
สิ่งทดลองที่ 1 น้ำเปล่า
สิ่งทดลองที่ 2 เมพิควอท คลอไรด์ 100cc/ น้ำ 20  ลิตร +  ปุ๋ยน้ำสูตร 0 – 30 - 60 40cc/ น้ำ 20 ลิตร + อัลติม่า40cc/ น้ำ 20 ลิตร
สิ่งทดลองที่ 3จิบเบอเรลลิน5cc/ น้ำ 20 ลิตร + เมพิควอท คลอไรด์ 100cc/ น้ำ 20 ลิตร + ปุ๋ยน้ำสูตร  0 -30 - 60 40cc / น้ำ 20 ลิตร  +  อัลติม่า 40cc/ น้ำ 20 ลิตร
สิ่งทดลองที่ 4  จิบเบอเรลลิน 10cc/ น้ำ 20 ลิตร  +  เมพิควอท คลอไรด์ 100cc/ น้ำ 20 ลิตร + ปุ๋ยน้ำสูตร 0 – 30 - 60 40cc/ น้ำ 20 ลิตร  + อัลติม่า 40cc/ น้ำ 20 ลิตร
สิ่งทดลองที่ 5 จิบเบอเรลลิน15cc/ น้ำ20 ลิตร + เมพิควอท คลอไรด์ 100cc/ น้ำ 20 ลิตร + ปุ๋ยน้ำสูตร 0 – 30 - 60 40cc/ น้ำ 20 ลิตร + อัลติม่า 40c/ น้ำ 20 ลิตร
แผนการทดลอง การเพาะชวนชม พันธุ์เขาหินซ้อน โดยแบ่งเป็น 5 สิ่งทดลอง 3 ซ้ำโดย   แต่ละซ้ำจะปลูกลงในกระถางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 นิ้ว ในแต่ละกระถางจะมีต้นชวนชม 20 ต้นโดยวางเรียงกระถางเป็นแถวจำนวน 5 แถวแถวละ 3 กระถาง
การใช้จิบเบอเรลลินในการยืดลำต้นชวนชม พบว่า สิ่งทดลองที่ 3 มีอัตราการยืดมากกว่า  สิ่งทดลองที่ 1 และสิ่งทดลองที่  2 ในอัตราส่วน 1.65 : 1.05 : 1  ส่วนอัตราการใช้จิบเบอเรลลิน 5cc  10 cc และ 15 cc พบว่ามีอัตราการยืดของต้นชวนชมไม่มีความแตกต่างทางสถิติ และการใช้เมพิควอทคลอไรด์ร่วมกับการใช้จิบเบอเรลลินในการสร้างโขดหรือส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลาง พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ





ชื่อโครงการ      การใช้อาหารเสริมต่อคุณภาพของถั่วงอก 
ชื่อผู้ทำโครงการ 1. นายสราวุฒิ  จันมูล
                   2. นายณรงค์ชัย  ศรีเมือง
                               ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง       สาขางานพืชสวน
คณะกรรมการสอบโครงการ  อาจารย์อารีรัตน์   เอี่ยมอำนวย
                                อาจารย์วาสนา     กองผัด
                                อาจารย์นงลักษณ์  ลิ้มวนานนท์

บทคัดย่อ
การศึกษาทดลองการใช้อาหารเสริมต่อคุณภาพของถั่วงอก มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาหารเสริมชนิดต่างๆที่มีผลต่อคุณภาพของถั่วงอก  เมื่อเปรียบเทียบกับสารเร่งถั่วอ้วนและสามารถนำสารที่ได้มาทดแทนสารเร่งถั่วอ้วนได้
การศึกษาทดลองครั้งนี้ ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely  Randomize  Design : CRD) ประกอบด้วย 5 สิ่งทดลอง สิ่งทดลองละ 3 ซ้ำ โดยมีสิ่งทดลองดังนี้ คือ สิ่งทดลองที่ 1 น้ำเปล่า (ควบคุม) สิ่งทดลองที่ 2 อโทนิค (3  ซีซี / น้ำ 10 ลิตร) สิ่งทดลองที่ 3 สารเร่งถั่วอ้วน (3 ซีซี/น้ำ 10 ลิตร) สิ่งทดลองที่ 4 เครื่องดื่มชูกำลัง เอ็ม 150 ( 3  ซีซี / น้ำ 10 ลิตร ) สิ่งทดลองที่ 5 สาหร่ายสีเขียว ( 3 ซีซี /น้ำ 10  ลิตร) โดยมีวิธีการทดลอง คือ นำถั่วเขียวผิวดำ พันธุ์กำแพงแสน มาเพาะถั่วงอกแบบคอนโดมิเนียม 3ชั้น โดยแต่ละสิ่งทดลองนั้น จะมีอัตราของเมล็ดที่เท่ากัน 270 กรัม แต่ละสิ่งทดลองจะแบ่งเป็น 3 ซ้ำ แล้วทำการเก็บข้อมูลบันทึกผลการทดลอง โดยการเก็บน้ำหนัก วัดขนาดความยาว วัดขนาดความหนาหรือเส้นผ่านศูนย์กลาง
ผลการทดลองพบว่า การใช้ อโทนิคให้น้ำหนักผลผลิต 1.39กิโลกรัม ซึ่งแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เครื่องดื่มชูกำลัง เอ็ม150 (1.37 กิโลกรัม)  สารเร่งถั่วอ้วน (1.32 กิโลกรัม) สาหร่ายสีเขียว (1.28 กิโลกรัม) และน้ำเปล่า (1.25 กิโลกรัม) และเมื่อเปรียบเทียบความหนาของถั่วงอก พบว่า การใช้สารถั่วอ้วน ( 2.86 มิลลิเมตร) มีความหนาของ ลำต้นมากกว่า เครื่องดื่มชูกำลัง เอ็ม 150 (2.12 มิลลิเมตร) สาหร่ายสีเขียว ( 2.06 มิลลิเมตร ) อโทนิค (2.03 มิลลิเมตร) และน้ำเปล่า (1.99 มิลลิเมตร) ตามลำดับ และเมื่อทดสอบทางสถิติ พบว่ามีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง





ชื่อโครงการ การศึกษาสารสกัดสมุนไพร กลอย ยาเส้นและยี่โถในการกำจัดปลวก

ผู้วิจัย       นายสิริพงศ์        แก้ววิริยะชูชัย
             นายพงศกร        อ่วมสุวรรณ
                     ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขางานพืชสวน
คณะกรรมการตรวจสอบโครงการ   นางวาสนา      กองผัด
                                       นางนงลักษณ์    ลิ้มวนานนท์
                                       นายประดิษฐ์    กองผัด

บทคัดย่อ

การศึกษาสารสกัดสมุนไพร กลอย ยาเส้นและยี่โถในการกำจัดปลวก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสรรพคุณของ กลอย ยาเส้น  และ ยี่โถ ในการกำจัดปลวก และเพื่อเปรียบเทียบการใช้สารสกัดสมุนไพร กลอย ยาเส้น และ ยี่โถ ในการกำจัดปลวก

การศึกษาทดลองครั้งนี้ ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomize Design: CRD) ประกอบไปด้วย 4 วิธีการ วิธีการละ 5 ซ้ำ คือวิธีการที่ 1. (T1)น้ำเปล่า วิธีการที่  2. (T2 )สารสกัดจากกลอย  วิธีการที่  3. (T3)สารสกัดจากยาเส้น วิธีการที่ 4 (T4)สารสกัดจากยี่โถนับจำนวนการตายของปลวกหลังฉีดพ่นสมุนไพรระยะเวลา 20 นาที  30 นาที 40 นาที 50 นาที และ 60 นาที
จากการศึกษาสรรพคุณของพืชสมุนไพร พบว่า กลอย มีdioscorineเป็น แอลคาลอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำ ส่วนยาเส้นมีนิโคตินเป็นแอลคาลอยด์ชนิดน้ำ มีอยู่ในใบของยาสูบประมาณ 7%และเปลือกและลำต้นยีโถจะมีสาร glycocodeneriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงใบยี่โถมี Cardiac glysosidesชื่อว่า neri-in, nerianthin และ oleandrin
จากการเปรียบเทียบการใช้สารสกัด กลอย ยาเส้น และ ยี่โถ พบว่า สารสกัดจากยาเส้นมีประสิทธิภาพในการกำจัดปลวกดีที่สุดรองลงมาเป็นสารสกัดจากกลอย ยีโถและน้ำเปล่า





ชื่อโครงการ การทดลองเปรียบเทียบความสูงและน้ำหนักผลผลิตชองคะน้าโดยการหว่านถอนเว้นระยะการหว่านแล้วย้ายกล้า
ผู้วิจัย        นายเทพกร        ขุนทอง
              นายพฤหัส         สีเสือ
                       ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาพืชสวน
คณะกรรมการตรวจสอบโครงการ    นางอารีรัตน์    เอี่ยมอำนวย
                                        นางวาสนา      กองผัด
                                        นางนงลักษณ์   ลิ้มวนานนท์

บทคัดย่อ
จากการทดลองเปรียบเทียบความสูงและน้ำหนักผลผลิตของคะน้าโดยการหว่านถอนเว้นระยะและการหว่านแล้วย้ายกล้ามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการปลูกคะน้าโดยการหว่านแล้วถอนเว้นระยะกับการหว่านแล้วย้ายกล้าและเปรียบเทียบ การเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้าที่ปลูกโดยการหว่านแล้วถอนเว้นระยะกับการหว่านแล้วย้ายกล้าปลูก
        ในการทดลองครั้งนี้เป็นการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (Test Statistic Value ) ซึ่งเป็น   การเปรียบเทียบกลุ่มประชากรการหว่านแล้วถอนเว้นระยะกับ กลุ่มประชากรการหว่านแล้วย้ายกล้า ทำการเก็บข้อมูลวัดความสูงของคะน้าเมื่ออายุ 15 วัน  30 วันและวันเก็บผลผลิต และทำการชั่งน้ำหนักของผลผลิต
จากการทดลอง พบว่า การปลูกแบบการหว่านแล้วถอนเว้นระยะมีความสูงของต้นคะน้า ทุกระยะการเจริญเติบโตมากกว่าการหว่านแล้วย้ายกล้าและไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนการเปรียบเทียบน้ำหนักผลผลิตของคะน้าโดยการหว่านถอนเว้นระยะและการหว่านแล้วย้ายกล้าพบว่าน้ำหนักผลผลิตจากการปลูกแบบการหว่านแล้วถอนเว้นระยะ มีน้ำหนักเฉลี่ย 31.07  กรัมต่อต้น ซึ่งมากกว่าการหว่านแล้วย้ายกล้าที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 29.95 กรัมต่อต้นและจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนของผลผลิตผักคะน้า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ





ชื่อโครงการ  การใช้พืชน้ำบางชนิดในการช่วยบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเส้นหมี่
ชื่อผู้ทดลอง  นายชาตรี   สนธิเวช
                        นายศตวรรษ   สูญกลาง
                        ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขางานพืชสวน
คณะกรรมการสอบโครงการ นายดำรง      ชำนาญรบ
                                                    นางอารีรัตน์   เอี่ยมอำนวย
                                                    นายภัทระ      เรืองอินทร์

บทคัดย่อ
        การทดลองนี้ใช้พืชน้ำบางชนิดมาทำการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเส้นหมี่แห่งหนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการเปรียบเทียบว่าพืชน้ำชนิดใดช่วยบำบัดน้ำเสียได้ดีที่สุดและ เพื่อดูการเจริญเติบโตของพืช ทำทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์  (Completely Randomize Design :  CRD ) ประกอบด้วย  4 สิ่งทดลอง  ได้แก่ สิ่งทดลองที่ 1 ผักบุ้งไทย  สิ่งทดลองที่ 2 ผักตบชวา สิ่งทดลองที่ 3 จอก และสิ่งทดลองที่ 4 แพงพวยน้ำ สิ่งทดลองละ 5 ซ้ำ  โดยใช้น้ำหนักของพืช 1 กิโลกรัม / ซ้ำ ภายในระยะเวลา 21 วัน โดยวัดค่าแอมโมเนีย ค่า pH  และค่าค่าการนำไฟฟ้า ( EC : Electric Conductivity ) และชั่งน้ำหนักหลังการทดลองวัดทุก ๆ  3 วัน เป็นจำนวน 5 ครั้ง
        จากการทดลองมีค่าแอมโมเนียในน้ำเริ่มต้นเท่ากับ 2.50 หลังจากการทดลองใช้พืชน้ำชนิดต่างๆพบว่า แพงพวยน้ำสามารถลดค่าแอมโมเนียได้ดีที่สุด ( 0.42 ) รองลงมาคือ จอก ( 0.43 )   ผักบุ้งไทย ( 0.56 ) และผักตบชวา ( 0.64 ) ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ พบว่า แพงพวยน้ำ จอก ผักบุ้งไทย มีความแตกต่างทางสถิตอย่างมีนัยสำคัญ P = 0.05 กับผักตบและน้ำเปล่า
        จากการทดลองมีค่า pH ในน้ำเริ่มต้นเท่ากับ 6.60 พบว่า พืชน้ำทั้ง 4 ชนิดไม่มีความแตกต่างกัน สามารถใช้พืชชนิดใดก็ได้ แต่ถ้าเรียงลำดับ ผักบุ้งไทยเพิ่มค่า pH ได้ดีที่สุด ( 7.47 ) รองลงมาคือ จอก ( 7.22 ) ผักตบชวา ( 7.19 ) และแพงพวยน้ำ ( 7.15 ) ตามลำดับ  และเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติพบว่า ผักบุ้งไทย  จอก  ผักตบชวา และแพงพวยน้ำ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ P = 0.05 กับน้ำเปล่า
        จากการทดลองมีค่าของการนำไฟฟ้า ( EC: Electric Conductivity ) ในน้ำเริ่มต้นเท่ากับ 3.00 พบว่า พืชน้ำทั้ง 4 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ถ้าเรียงตามลำดับอย่างละเอียด  จอกสามารถลดค่าการนำไฟฟ้า ( EC: Electric Conductivity ) ( 2.24 ) รองลงมาคือ แพงพวยน้ำ ( 2.45 ) ผักตบชวา ( 2.50 ) และผักบุ้งไทย ( 2.61 ) ตามลำดับ   และเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติพบว่า  จอก  แพงพวยน้ำ ผักตบชวา และผักบุ้งไทย  มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ     P = 0.05 กับน้ำเปล่า
        จากการศึกษาทดลองใช้พืชน้ำชนิดต่าง ๆ ประกอบด้วย  ผักบุ้งไทย  ผักตบชวา  จอก แพงพวยน้ำ ในการช่วยบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า จอก ช่วยในการบำบัด ได้ดีที่สุดรองลงมาคือแพงพวยน้ำ  ผักตบชวา  และผักบุ้งไทย  ตามลำดับ





ชื่อโครงการ        ประสิทธิภาพก๊าซชีวภาพที่เกิดจากบ่อหมักแบบยอดโดมทำด้วยโอ่งปูนซีเมนต์ในการจุดตะเกียงให้แสงสว่าง
ชื่อผู้ทดลอง        นายปวรวัฒน์  เอื้อพูนผล
                     นายธนา  เจริญกิติกุล
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขางานการจัดการผลิตสัตว์
คณะกรรมการสอบโครงการ        นายสมพงษ์  สุวรรณมาลี
                                      นางสาวยุพา  ชื่นเนียม
                                      นายยศศักดิ์  รีเงิน

บทคัดย่อ
          การศึกษาประสิทธิภาพก๊าซชีวภาพที่เกิดจากบ่อหมักแบบยอดโดมทำด้วยโอ่งปูนซีเมนต์ในการจุดตะเกียงให้แสงสว่างโดยใช้มูลสุกร 1,000 กิโลกรัม จากส้วมน้ำที่ปล่อยทิ้งทุกวัน นำมาหมักเป็นเวลา 7 วัน พบว่าเกิดก๊าซชีวภาพ วัดแรงดันก๊าซจากความสูงของระดับน้ำในมาตรวัดแรงดันก๊าซใน 15 วันมีค่าเฉลี่ยของแรงดันก๊าซก่อนการทดลองจุดตะเกียงให้แสงสว่างเฉลี่ย 13.73 เซนติเมตร ก๊าซที่เกิดขึ้นสามารถจุดไฟติดและลุกไหม้ให้แสงสว่างในตะเกียงเจ้าพายุที่ได้ดัดแปลงแล้ว ให้แสงสว่างได้นานเฉลี่ย 39.6 นาที/คืน คิดเป็นระดับประสิทธิภาพด้านปริมาณการเกิดก๊าซเพื่อให้แสงสว่างอยู่ในระดับต้องปรับปรุง ความสว่างของตะเกียงเทียบกับหลอดไฟฟ้า (หลอดไส้ 14 วัตต์) เฉลี่ย 9.53 วัตต์ คิดเป็นระดับประสิทธิภาพคุณภาพแสงสว่างเปรียบเทียบกับหลอดไฟฟ้าอยู่ในระดับสูง ก๊าซชีวภาพที่เกิดจากบ่อหมักแบบยอดโดมทำด้วยโอ่งปูนซีเมนต์จึงสามารถนำมาใช้ในการจุดตะเกียงให้แสงสว่างในเวลากลางคืนได้ สามารถลดใช้พลังงานไฟฟ้า จึงเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง






ชื่อโครงการ        ประสิทธิภาพก๊าซชีวภาพที่เกิดจากบ่อหมักแบบยอดโดมทำด้วยโอ่งปูนซีเมนต์ในการใช้เป็นก๊าซหุงต้ม
ชื่อผู้ทดลอง        นายธนาพรรณ  เนยน้อย
                     นายยุทธนา  วลาศิลป์
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขางานการจัดการผลิตสัตว์
คณะกรรมการสอบโครงการ        นายสมพงษ์  สุวรรณมาลี
                                      นางสาวยุพา  ชื่นเนียม
                                      นายยศศักดิ์  รีเงิน

บทคัดย่อ
          การศึกษาประสิทธิภาพก๊าซชีวภาพที่เกิดจากบ่อหมักแบบยอดโดมทำด้วยโอ่งปูนซีเมนต์ในการใช้เป็นก๊าซหุงต้ม โดยใช้มูลสุกรในการหมัก ทำการทดลอง 16 วัน พบว่าเกิดก๊าซชีวภาพ ในวันที่ 7 ของการหมัก ก๊าซที่เกิดขึ้นในระยะแรกสามารถจุดไฟติดได้แต่ยังไม่สามารถต้มน้ำให้เดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสได้ ด้วยก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นยังมีความเข้มข้นน้อยเนื่องจากกระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์ จุดไฟในวันที่ 16 วัน พบว่าก๊าซชีวภาพที่ได้มีความเข้มข้นของก๊าซที่สามารถต้มน้ำ 1 ลิตรให้เดือดในเวลาเฉลี่ย 7.61 นาที จากการประเมินประสิทธิภาพก๊าซชีวภาพที่เกิดจากบ่อหมักแบบยอดโดมทำด้วยโอ่งปูนซีเมนต์ในการใช้เป็นก๊าซหุงต้มอยู่ในระดับที่สามารถนำไปใช้ในครัวเรือนได้ เนื่องจากสามารถจุดไฟติดได้ง่ายทุกครั้งการจุดไฟเตาแก๊สเพื่อต้มน้ำจากก๊าซชีวภาพมีปัจจัย 3 ประการ คือ เชื้อเพลิง อากาศ และอุณหภูมิความร้อน ถ้ามีปัจจัยทั้ง 3 ประการเหมาะสม ก็จะสามารถนำก๊าซชีวภาพที่เกิดจากบ่อหมักแบบยอดโดมทำด้วยโอ่งปูนซีเมนต์ไปใช้ในครัวเรือนได้ดี และสามารถลดมลพิษทางอากาศ ทางน้ำเสีย และโรคพยาธิจากมูลสัตว์ ที่หมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็น โดยการจุดไฟให้ก๊าซชีวภาพเผาไหม้กลิ่นก็จะลดลง จึงเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม



ชื่อโครงการ        ผลของสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากผลมะกรูดด้วยชุดสกัดน้ำมันหอมระเหยแบบการกลั่นด้วยไอน้ำในการกำจัดหมัดสุนัย
ชื่อผู้ทดลอง        นายกิตติศักดิ์  อรรควงษ์
                     นายสุทัศน์  ทรงเขียวอำพล
                     นายสุเมธ  เซี่ยงฉิน
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขางานการจัดการผลิตสัตว์
คณะกรรมการสอบโครงการ        นายสมพงษ์  สุวรรณมาลี
                                      นางสาวยุพา  ชื่นเนียม
                                      นายยศศักดิ์  รีเงิน

บทคัดย่อ
          การศึกษาผลของสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากผลมะกรูดด้วยชุดสกัดน้ำมันหอมระเหยแบบการกลั่นด้วยไอน้ำในการกำจัดหมัดสุนัข โดยใช้การกลั่นแยกสารที่ระเหยง่าย โดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลายพาสารออกมากับไอน้ำ ชุดสกัดน้ำมันหอมระเหยแบบการกลั่นด้วยไอน้ำ ที่ประกอบขึ้นด้วยถังนึ่ง เป็นการทำให้สมุนไพรปล่อยน้ำมันหอมระเหยเข้าสู่ถังควบแน่น โดยใช้ความเย็นของน้ำแข็งและเกลือในถังควบแน่นทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นของเหลว โดยใช้ผลมะกรูดจำนวนทั้งหมด 7.5 กิโลกรัม ใช้ระยะเวลาในการกลั่น ครั้งละ 3 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้ง พบว่าสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากผลมะกรูดเฉลี่ย 94 ซี.ซี. มีลักษณะเป็นน้ำมันหอมระเหยใส แขวนลอยในน้ำ นำสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากผลมะกรูด นำไปฉีดพ่นกำจัดหมัดสุนัข สามารถกำจัดหมัดสุนัขได้ 81.12 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับงานวิจัยที่ใช้นำมันหอมระเหยจากผลมะกรูด สามารถนำไปใช้ฉีดพ่นฆ่าเห็บ หมัดที่เกาะอยู่ภายนอกร่างกายของสัตว์ได้ เนื่องจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากผลมะกรูดมีฤทธิ์ไล่แมลงได้



ชื่อโครงการ        เปรียบเทียบผลการใช้ตำลึง น้ำจากใบยาสูบ และยาถ่ายพยาธิลีวามิโซลในการถ่ายพยาธิตาไก่พื้นเมือง
ชื่อผู้ทดลอง        นางสาวกิติพร  พุมมา
                     นางสาวปรัชญา  เสาร์สิงห์
                     นางสาวสุณิสา  ทองศรี
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาสัตวรักษ์
คณะกรรมการสอบโครงการ        นายจรูญ  นาคพันธุ์
                                      น.สพ.พิเชษฐ  ประจงทัศน์
                                       น.สพ.สุวิทย์  จันละคร

บทคัดย่อ
          การศึกษาเรื่องเปรียบเทียบผลการใช้ตำลึง น้ำจากใบยาสูบ และยาถ่ายพยาธิลีวามิโซลไฮโดรคลอไรด์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของยางจากเถาตำลึง ยอดตำลึง น้ำจากใบยาสูบ และยาถ่ายพยาธิลีวามิโซลไฮโดรคลอไรด์ ในการถ่ายพยาธิไก่พื้นเมือง และเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 สิ่งทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ จำนวน 36 ตัว การเตรียมสิ่งทดลองที่ 1 (เถาตำลึง) สิ่งทดลองที่ 2 (ยอดตำลึง) ล้างทำความสะอาด สิ่งทดลองที่ 3 (น้ำจากใบยาสูบ) นำยาสูบแช่น้ำ นาน 10 นาที ในอัตราส่วน ยาสูบ 20 กรัม ต่อ น้ำ 150 มิลลิลิตร และสิ่งทดลองที่ 4 (ยาถ่ายพยาธิลีวามิโซล ไฮโดรคลอไรด์) ผสมกับน้ำกลั่นในอัตรา 1:1 ส่วน นำสิ่งทดลองทั้ง 4 มาหยอดใส่ในตาไก่ อย่างละหยด ใช้สำลีพันก้านเขี่ยพยาธิออกจากตาไก่ โดยนำข้อมูลปริมาณการถ่ายพยาธิตาไก่ มาหาค่าความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย ด้วยวิธี Least Significant Different (lsd)
          ผลจากการศึกษาพบว่า ตำลึงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับน้ำจากใบยาสูบ และยาถ่ายพยาธิลีวามิโซล ไฮโดรคลอไรด์ ที่ไม่สามารถถ่ายพยาธิตาไก่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับวสันต์ (2554) เพราะยางในเถาตำลึงและยอดตำลึง รักษาได้เพียงโรคทางตา แต่น้ำจากใบยาสูบมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญกับยาถ่ายพยาธิลีวามิโซล ไฮโดรคลอไรด์ ที่ P> 0.05 สามารถถ่ายพยาธิตาไก่ได้ ในการใช้ยาสูบไม่ควรเกิน 20 กรัม ต่อน้ำ 150 มิลลิเมตร ในเวลาไม่เกิน 5 นาที




ชื่อโครงการ        ผลของน้ำหมักใบหูกวางต่อการหายของแผลตอนในลูกสุกร
ชื่อผู้ทดลอง        นางสาวกันยา  ยันยง
                     นางสาวเพชรไพลิน  สุขเสงี่ยม
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาสัตวรักษ์
คณะกรรมการสอบโครงการ        น.สพ.พิเชษฐ  ประจงทัศน์
                                      น.สพ.สุวิทย์  จันละคร
                                      นายสมพงษ์  สุวรรณมาลี

บทคัดย่อ
          การศึกษาผลของน้ำหมักใบหูกวางต่อการหายของแผลตอนในลูกสุกร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของใบหูกวางในการรักษาแผล โดยเปรียบเทียบกับทิงเจอร์ไอโอดีน แบ่งเป็น 2 สิ่งทดลอง ๆ ละ 100 ตัว รวมจำนวนลูกสุกรเพศผู้ 200 ตัว วิธีการทดลองโดยฉีดพ่นทิงเจอร์ไอโอดีน (สิ่งทดลองที่ 1) และน้ำหมักใบหูกวาง (สิ่งทดลองที่ 2) ตัวละ 3 มิลลิเมตร 1 ครั้ง หลังการตอน รอบันทึกผลจำนวนวันการหายของบาดแผล นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผลแบบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบคู่ Paired T-test (Comparison T-test) วิเคราะห์การกระจายและค่า C.V. สัมประสิทธิ์ความแปรผัน ผลการศึกษา พบว่าทิงเจอร์ไอโอดินมีค่าเฉลี่ย 6.6 วัน ซึ่งหายช้ากว่าน้ำหมักใบหูกวาง ที่ให้ค่าเฉลี่ย 5.75 วัน ผลของการเปรียบเทียบคู่ค่าเฉลี่ย พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 19.92 ที่ความเชื่อมั่น 95% และมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน (C.V.) 17.6 แสดงให้เห็นว่า น้ำหมักจากใบหูกวางแห้งสามารถทดแทนการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนได้





ชื่อโครงการ        ผลของการใช้หมากดิบสดเปรียบเทียบกับหมากนวลในการถ่ายพยาธิตัวตืดในไก่พื้นเมือง
ชื่อผู้ทดลอง        นางสาวนริศรา  สืบวงศ์
                     นายวุฒิพงษ์  รังเรืองฤทธิ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาสัตวรักษ์
คณะกรรมการสอบโครงการ        นายจรูญ  นาคพันธุ์
                                      น.สพ.พิเชษฐ  ประจงทัศน์
                                      นายสมพงษ์  สุวรรณมาลี

บทคัดย่อ
          การศึกษา ผลของการใช้หมากดิบสดเปรียบเทียบกับหมากนวล ในการถ่ายพยาธิตัวตืดในไก่พื้นเมือง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหมากดิบและหมากนวลในการถ่ายพยาธิตัวตืด โดยใช้ไก่พื้นเมืองจำวน 18 ตัว แบ่งเป็น 2 สิ่งทดลอง สิ่งทดลองละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 3 ตัว จากการสุ่มไก่พื้นเมืองทั้งหมด 50 ตัว จากการทดลองพบว่าอุจจาระของไก่พื้นเมืองที่ได้รับสมุนไพรหมากดิบนั้น มีปล้องสุกของพยาธิตัวตืด และตัวโตเต็มวัยปนออกมากับอุจจาระของไก่พื้นเมือง ส่วนการใช้สมุนไพรหมากนวล ไม่พบปล้องสุกและตัวโตเต็มวัยของพยาธิตัวตืดปนออกมากับอุจจาระของไก่พื้นเมือง เมื่อนำไก่พื้นเมืองมาผ่าซากเพื่อตรวจนับพยาธิที่หลงเหลือภายในระบบทางเดินอาหาร จากการสุ่มนำไก่พื้นเมืองของแต่ละซ้ำ ของสิ่งทดลองพบพยาธิตัวตืด Raillietina tetragona มากที่สุด จากข้อมูลดังกล่าวได้แสดงถึงผลของการใช้หมากดิบ และหมากนวลที่มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ t> 0.05
          จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำหลักการ และวิธีการของการใช้หมากดิบในการถ่ายพยาธิไก่พื้นเมือง ไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการลดต้นทุน ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวเศรษฐกิจพอเพียง


ชื่อโครงการ        ผลของการใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำรักษาแผลตอนในสุกร
ชื่อผู้ทดลอง        นายประทุมทอง  รัตนพันธ์
                     นายสมรัก  ใจตรง
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาสัตวรักษ์
คณะกรรมการสอบโครงการ        น.สพ.พิเชษฐ  ประจงทัศน์
                                      น.สพ.สุวิทย์  จันละคร
                                      นายสมพงษ์  สุวรรณมาลี

บทคัดย่อ
          การศึกษาการรักษาแผลตอนในสุกรเพศผู้โดยใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหายของแผลตอนในสุกรเพศผู้ และศึกษาประสิทธิภาพของผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำรักษาแผลตอนในสุกร วางแผนการทดลองแบบ Paired T-test โดยใช้สุกรเพศผู้อายุ 5 – 7 วัน น้ำหมักเฉลี่ยของลูกสุกร 750 กรัม จำนวน 60 ตัว แบ่งออกเป็น 2 สิ่งทดลอง หน่วยทดลองละ 30 ตัว เลือกหน่วยทดลองโดยวิธีการสุ่มโดยให้แต่ละกลุ่มได้รับสิ่งทดลองต่างกันคือ ทิงเจอร์ไอโอดีนและผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ ทำการตอนลูกสุกรเพศผู้แบบ 2 แผล โดยมีความกว้างทั้ง 2 แผลเท่ากัน ให้สิ่งทดลองแก่หน่วยทดลองในปริมาณที่เท่ากันในปริมาณ 1 มิลลิเมตรต่อตัว ทำการเก็บข้อมูลโดยการบันทึกการหายของแผลตอนทุกวันจนแผลหายสนิท จากการศึกษาพบว่าการใช้ผลสกัดใบหูกวางละลายน้ำและทิงเจอร์ไอโอดีนให้ค่าเฉลี่ยของจำนวนวันที่หายของบาดแผลตอนเท่ากับ 5.73 และ 5.81 วัน ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่พบว่าสิ่งทดลองทั้งสอง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ P ≥ 0.05 และในการทดลองมีค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (Coefficient of Variation : C.V.%) เฉลี่ยเท่ากับ 2.07% แสดงให้เห็นว่าการใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำสามารถรักษาแผลตอนในสุกรนั้น สามารถใช้รักษาได้เทียบเท่าการใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน
          จากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ เปรียบเทียบกับทิงเจอร์ไอโอดีน พบว่า ราคาต้นทุนผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำให้ต้นทุนการผลิต ราคาต่ำกว่าทิงเจอร์ไอโอดีน ถึงร้อยละ 50 คือ ต้นทุนทิงเจอร์ไอโอดีน ราคา 0.15 บาทต่อมิลลิเมตร ส่วนผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำ ราคา 0.08 บาทต่อมิลลิเมตร แสดงให้เห็นว่าการใช้ผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำรักษาแผลตอนในสุกรนั้นสามารถลดต้นทุนเวชภัณฑ์ การรักษาแผลสดถึงร้อยละ 50 ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงด้วย อีกทั้งผงสกัดใบหูกวางละลายน้ำยังเป็นวิธีหนึ่ง ที่ลดปัญหาการขาดแคลนใบหูกวางในฤดูกาลที่ไม่มีการผลัดใบอีกด้วย




ชื่อโครงการ        ผลของการใช้กรรไกรตัดหางกับกรรไกรตัดหางไฟฟ้าในลูกสุกร
ชื่อผู้ทดลอง        นายณัฐวุฒิ  เตี้ยเนตร
                     นายปรมินทร์  กรีธาพล
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาสัตวรักษ์
คณะกรรมการสอบโครงการ        นายจรูญ  นาคพันธุ์
                                      น.สพ.พิเชษฐ  ประจงทัศน์
                                      นายสมพงษ์  สุวรรณมาลี

บทคัดย่อ
          การศึกษาเรื่องผลของการใช้กรรไกรตัดหางไฟฟ้ากับกรรไกรตัดหางไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการหายของบาดแผลจากการใช้กรรไกรตัดหางทั้ง 3 ประเภท โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) ทำการวิเคราะห์การแปรปรวน (ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Least Significant Different (lsd) แบ่งการทดลองเป็น 3 สิ่งทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ซึ่งทำการตัดหางลูกสุกรอายุ 3 วัน โดยพบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที p < 0.05 ซึ่งการใช้กรรไกรตัดหางธรรมดาร่วมกับทิงเจอร์ไอโอดีน (ควบคุม) การใช้กรรไกรตัดหางไฟฟ้า ร่วมกับทิงเจอร์ไอโอดีน และการใช้กรรไกรตัดหางไฟฟ้า มีจำนวนวันหายของแผลตามค่าเฉลี่ยดังนี้ 10.99 11.11 และ 11.33 วัน

 
 
ชื่อโครงการ        การเปรียบเทียบการหายของแผลตอนลูกสุกรโดยใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน น้ำหมักใบหูกวางแห้งและผงสกัดจากใบหูกวางแห้งละลายน้ำ
ชื่อผู้ทดลอง        นายเจษฎา  ระวังภัย
                     นางสาวจุไรรัตน์  แฉล้มนงนุช
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  สาขาวิชาสัตวรักษ์
คณะกรรมการสอบโครงการ        น.สพ.พิเชษฐ  ประจงทัศน์
                                      น.สพ.สุวิทย์  จันละคร    
                                      ว่าที่ร.ต.หญิงระพีพร  แพงไพรี

บทคัดย่อ
          จากการเปรียบเทียบการรักษาแผลตอนในลูกสุกรเพศผู้โดยใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน น้ำหมักใบหูกวางแห้งและผงสกัดจากใบหูกวางแห้งละลายน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดขนาดของแผลตอนในสุกรเพศผู้ และการเปรียบเทียบการหายของแผลตอนลูกสุกรโดยใช้ทิงเจอร์ ทอลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่งสุกรทดลองเป็น 3 สิ่งทดลอง 3 ซ้ำ โดยใช้สุกรเพศผู้อายุ 5-7 วัน น้ำหนักเฉลี่ยของลูกสุกร 750 กรัม จำนวน 45 ตัว ใช้ระยะการติดตามผลการทดลองโดยเฉลี่ย 4 วัน และเก็บข้อมูลบันทึกการหายของแผล สิ่งทดลองที่ 1 ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน (เป็นตัวควบคุม) อัตรา 2 มิลลิลิตรต่อ 1 ตัว สิ่งทดลองที่ 2 ใช้น้ำหมักใบหูกวางแห้ง พ่นเข้าบริเวณบาดแผลในอัตรา 2 มิลลิลิตรต่อ 1 ตัว สิ่งทดลองที่ 3 ใช้ผงสกัดใบหูกวางแห้งละลายน้ำ พ่นเข้าบริเวณบาดแผลในอัตรา 2 มิลลิลิตรต่อ 1 ตัว จากการศึกษาพบว่าในเรื่องการใช้น้ำหมักใบหูกวางแห้งและผงสกัดใบหูกวางแห้งละลายน้ำใช้ในปริมาณที่เท่ากันเพื่อเปรียบเทียบกับทิงเจอร์ไอโอดีน (ตัวควบคุม) ภายในระยะเวลาโดยเฉลี่ย 4 วัน ในการรักษาบาดแผลให้ผลการเปรียบเทียบในจำนวนวันที่หายไม่เท่ากัน เมื่อได้นำมาวิเคราะห์พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ