...ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความจริงใจครับ...

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

งานวิจัยในชั้นเรียนของครู


ชื่อเรื่องงานวิจัย  การใช้แบบฝึกในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รายการค้าของนักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3  ภาคเรียนที่  1/2554
ชื่อผู้วิจัย          นางพรทิพย์     มังคลาด    ครู ค.ศ. 2
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รายการค้าให้ถูกต้องตามหลักการทางบัญชีและเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาบัญชีฟาร์มให้มีคุณภาพ
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. 3) สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานพืชศาสตร์ และสาขางานสัตวศาสตร์ จำนวน 24 คน ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา  2554
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โดยจัดทำเป็นโจทย์ตัวอย่างรายการค้า ในช่วงเวลา 1 เดือน  จำนวน 10 รายการค้า และให้นักศึกษาวิเคราะห์รายการค้า  3  ขั้นตอน   (1 รายการค้า  วิเคราะห์  3 ขั้นตอน)
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้คะแนนนักศึกษาแต่ละคน และเก็บรวบรวมข้อมูลไปวิเคราะห์ เมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียน การสอนนักศึกษาในการวิเคราะห์รายการค้า  ก็นำข้อมูลการตรวจให้คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาทุกคนที่ได้มาวิเคราะห์สรุปผล หาค่ามัชฉิฌเลขคณิต (ค่าเฉลี่ย)  และการทดสอบค่า ที  ( t –test ) แบบ  Dependent samples และสรุปรายงานผล
          ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนก่อนเรียนมีค่าต่ำกว่าคะแนนหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า การใช้แบบฝึกทักษะในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รายการค้าของนักศึกษาอยู่ในระดับที่สูงขึ้น





ชื่องานวิจัย       การใช้ชุดฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์รายการค้า ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา  วิชาบัญชีเบื้องต้น 1 รหัส 2201-1002 ระดับชั้น ปวช.สาขาพณิชยการ
ชื่อผู้วิจัย         นางสาวเพชรินทร์  กล่อมวงศ์
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติ เรื่อง การวิเคราะห์รายการค้า
              กลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาระดับชั้น ปวช.3(เรียนเก็บ) สาขาวิชาพณิชยการ สาขางานการบัญชี จำนวน 1 คน ปีการศึกษา 2554 
              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือชุดฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์รายการค้า จำนวน 5 ชุด
              ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการเรียนวิชาบัญชีเบื้องต้น 1 เรื่อง การวิเคราะห์รายการค้าของนักศึกษามีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 สรุปได้ว่า การใช้ชุดฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์รายการค้า สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาได้สูงขึ้น




ชื่องานวิจัย      การใช้ชุดฝึกปฏิบัติภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา วิชาบัญชีเกี่ยวกับภาษี 1 รหัส 2201-2108 ระดับชั้น ปวช.สาขาพณิชยการ
ชื่อผู้วิจัย         นางสาวเพชรินทร์  กล่อมวงศ์
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติ เรื่อง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
              กลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาระดับชั้น ปวช.3 สาขาวิชาพณิชยการ สาขางานการบัญชี จำนวน 4 คน ปีการศึกษา 2554 
              เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือชุดฝึกปฏิบัติภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 3 ชุด
              ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการเรียนวิชาบัญชีเกี่ยวกับภาษี เรื่องภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของนักศึกษามีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 สรุปได้ว่า การใช้ชุดฝึกปฏิบัติภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาได้สูงขึ้น






ชื่องานวิจัย       การพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้เก่ง ดี มีสุข โดยการเรียนแบบโครงงาน วิชาการผลิตเห็ด
ชื่อผู้วิจัย         นายอรัญ  ภมร
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติในการเรียนและความสามารถในการทำโครงงานวิชาการผลิตเห็ดของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2
           กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี จำนวน 20 คน ปีการศึกษา 2554 ที่ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แล้วทำการเรียนแบบโครงงานวิชาการผลิตเห็ด ใช้เวลา 18 ชั่วโมง
            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแผนการจัดการเรียนรู้โดยการเรียนแบบโครงงาน            
            เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบสอบถามวัดเจตคติ และแบบประเมินความสามารถในการทำโครงงานวิชาการผลิตเห็ด
            สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent Samples) 
            ผลการวิจัยพบว่า
                  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการผลิตเห็ดของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี โดยการเรียนแบบโครงงาน หลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01
                  2. เจตคติในการเรียนวิชาการผลิตเห็ดของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี โดยการเรียนแบบโครงงาน หลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 
                  3. ความสามารถในการทำโครงงานวิชาการผลิตเห็ดของนักเรียนระดับชั้น ปวช.2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี โดยการเรียนแบบโครงงาน อยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 81.60)







ชื่องานวิจัย       ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสรีรวิทยาของพืช รหัสวิชา 3500-0101 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส)
ชื่อผู้วิจัย         นายดำรง  ชำนาญรบ
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554
บทคัดย่อ
            การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขางานพืชสวน ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสรีรวิทยาของพืช รหัสวิชา 3500-0101 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสรีรวิทยาของพืช ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขางานพืชสวน ที่เรียนวิชาสรีรวิทยาของพืช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 18 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC for window version 9.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mena) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
           ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจระดับมากที่สุดและระดับมา จำนวน 2 ด้านเท่ากัน เรียงตามลำดับ ดังนี้ คือ 1)ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิควิธีการสอน 2)ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน 3)ด้านการใช้สื่อประกอบการสอน และ 4) ด้านความรู้ ความสามารถในรายวิชาที่สอน ตามลำดับ






ชื่องานวิจัย      ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร รหัสวิชา 2000-1422 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อผู้วิจัย          นางจิรภา  ชำนาญรบ
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
            การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานพืชศาสตร์และสัตวศาสตร์ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร รหัสวิชา 2000-1422 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานพืชศาสตร์และสัตวศาสตร์ ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 34 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC for window version 9.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mena) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
           ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจระดับมากที่สุดและระดับมา จำนวน 2 ด้านเท่ากัน เรียงตามลำดับ ดังนี้ คือ 1)ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิควิธีการสอน 2)ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน 3)ด้านการใช้สื่อประกอบการสอน และ 4) ด้านความรู้ ความสามารถในรายวิชาที่สอน ตามลำดับ






ชื่องานวิจัย      ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา สุขศึกษาและนันทนาการ รหัสวิชา 3000-1605 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ชื่อผู้วิจัย         นายเสนาะ  ขุนประเสริฐ
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554


บทคัดย่อ
            การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา สุขศึกษาและนันทนาการ รหัสวิชา 3000-1605 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา สุขศึกษาและนันทนาการ รหัสวิชา 3000-1605 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนวิชาวิชาพลศึกษา สุขศึกษาและนันทนาการ รหัสวิชา 3000-1605 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 14 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC for window version 9.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mena) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
           ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจระดับมากทุกด้าน







ชื่อเรื่องวิจัย     การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้โปรแกรม PowerPoint วิชาการประกันภัย เรื่องสัญญาประกันภัย ชั้น ปวช.3
ชื่อผู้วิจัย        นางเยาวพา  นาคพันธุ์

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการสอนด้วยโปรแกรม PowerPoint
          กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 สาขางานการบัญชี วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ปีการศึกษา 2554 จำนวน 3 คน
          เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาการประกันภัย 2) ตัวแปรต้น ได้แก่ การใช้โปรแกรม PowerPoint 3) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 สาขางานการบัญชี สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการประกันภัยของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขางานการบัญชีที่สอนด้วยโปรแกรม PowerPoint สูงขึ้น 2) เจตคติในการเรียนวิชาการประกันภัยของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขางานการบัญชีที่สอนด้วยโปรแกรม PowerPoint สูงขึ้น




ชื่อเรื่องงานวิจัย  การพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร เรื่องลักษณะการดำเนินธุรกิจ โดยใช้เอกสารประกอบการสอน
ชื่อผู้ทำวิจัย       นางทิพยา  สังขานวม

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผลการเรียนสูงขึ้น โดยการสอนด้วยเอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร
          กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ระดับ ปวส.2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ปีการศึกษา 2554 จำนวน 12 คน
          เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการสอนวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร 2) ตัวแปรต้น/นวัตกรรม คือ แผนการสอนวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร 3) ตัวแปรตาม คือ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.2 12 คน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร ของนักศึกษาระดับ ปวส.2 โดยการสอนด้วยเอกสารประกอบการสอนสูงขึ้น 2) เจตคติในการเรียนวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร ของนักศึกษาระดับ ปวส.โดยการสอนด้วยเอกสารประกอบการสอนสูงขึ้น





ชื่องานวิจัย      เจตคติของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีต่อการเรียนวิชาการผลิตพืชไร่
ชื่อผู้วิจัย         นางสาคร  สุทนต์
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยเรื่องเจตคติของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ที่มีต่อการเรียนวิชาการผลิตพืชไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ของครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับ ปวช.2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ปีการศึกษา 2554 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่แบบสอบถามในการจัดการเรียนรู้วิชาการผลิตพืชไร่ ตัวแปรต้นคือแผนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ ตัวแปรตามคือความพึงพอใจที่มีต่อการการจัดการเรียนการสอนวิชการผลิตพืชไร่ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า เจตคติในการเรียนวิชาการผลิตพืชไร่ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปีที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตพืชไร่ของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใจระดับมาก ทั้ง 5 ด้าน คือด้านที่ 1 ความรู้ความสามารถของครูในรายวิชาที่สอน ด้านที่ 2 ความสามารถของครูในการถ่ายทอดเนื้อหาและเทคนิคการสอน ด้านที่ 3 การใช้สื่อประกอบการสอนของครู ด้านที่ 4 การวัดผลและการประเมินผลการเรียนของครู และด้านที่ 5 ด้านบุคลิกภาพและความเหมาะสมของครูผู้สอน ซึ่งครูผู้สอนต้องตระหนักและเห็นความสำคัญในการจัดแผนการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านอยู่เสมอและควรมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในบทเรียน เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญในการดำเนินชีวิตต่อไป







ชื่องานวิจัย       การศึกษานวัตกรรมหินเทียมสร้างถ้ำพักอาศัย
ชื่อผู้วิจัย          นายอกนิกษฐ์  สุทนต์
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การศึกษานวัตกรรมการใช้หินเทียมสร้างถ้ำพักอาศัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามุมมองของการใช้นวัตกรรมหินเทียมสร้างถ้ำพักอาศัย เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาอาชีพการสร้างถ้ำหินเทียม เพื่อศึกษาแนวทางหินเทียมสร้างถ้ำพักอาศัย และต่อการเรียนการสอนวิชาด้านการจัดสวนโดยศึกษาจากมุมมองของบุคคลต่าง ๆ จากกลุ่มประชากรจำนวน 120 คน จากครูอาจารย์ผู้สอน ผู้ประกอบอาชีพด้านภูมิทัศน์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยการสำรวจความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
ผลการศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดต่อนวัตกรรมหินเทียมสร้างถ้ำพักอาศัยโดยการใช้แบบสอบถามจำนวน 120 ตัวอย่าง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตัวอย่างคือ ครู, ผู้ประกอบการอาชีพภูมิทัศน์ นักเรียน/นักศึกษา และบุคคลทั่วไป จากการหาค่าเฉลี่ยในส่วนรวม พบว่าความพึงพอใจด้านต่าง ๆ ส่วนมากมีความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก – พึงพอใจมากที่สุด มีเพียงด้านความคงทนใกล้เคียงกับหินธรรมชาติที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง และความพึงพอใจของการใช้สื่อหินเทียมสร้างถ้ำพักอาศัยต่อการเรียนการสอนวิชาด้านการจัดสวน พบว่าความพึงพอใจด้านต่างๆ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก – พึงพอใจมากที่สุด มีเพียงความคงทนสามารถใช้งานจัดสวนได้ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจปานกลาง โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ตอบแบบสอบถามว่า ควรส่งเสริมให้มีการใช้หินเทียมสร้างถ้ำพักอาศัยเพื่อเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม







ชื่องานวิจัย       ตู้ฟักไข่อัตโนมัติระบบไมโครคอนโทรลเลอร์
ชื่อผู้วิจัย          นายจรูญ  นาคพันธุ์และนายณรงฤทธิ์  ฐิติธนานนท์
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรีและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          ศึกษาประสิทธิภาพในการฟักไข่ไก่ของตู้ฟักไข่ไก่อัตโนมัติระบบไมโครคอนโทรลเลอร์เปรียบเทียบกับตู้ฟักไข่ไก่ระบบเดิมที่ควบคุมอุณหภูมิด้วยเทอร์โมสแตท ควบคุมความชื้นด้วยถาดน้ำ และควบคุมการกลับไข่ด้วยนาฬิกาตั้งเวลา โดยทำการทดลองฟักไข่ไก่ครั้งละ 35 ฟอง ทดลองซ้ำ 125 ครั้ง เปรียบเทียบระหว่างตู้ฟักไข่ไก่ทั้ง 2 ระบบ แล้วคำนวณหาอัตราการฟักออกเป็นลูกไก่จากจำนวนไข่ไก่ที่มีเชื้อทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า ตู้ฟักไข่ไก่อัตโนมัติระบบไมโครคอนโทรลเลอร์มีประสิทธิภาพดีกว่าตู้ฟักไข่ไก่ระบบเดิม กล่าวคือ ไข่ไก่ที่ฟักด้วยตู้ฟักไข่ไก่อัตโนมัติระบบไมโครคอนโทรลเลอร์มีอัตราการฟักออกเป็นลูกไก่เฉลี่ย 88.08% ส่วนไข่ไก่ที่ฟักด้วยตู้ฟักไข่ไก่ระบบเดิมมีอัตราการฟักออกเป็นลูกไก่เฉลี่ย 66.67% ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)








ชื่องานวิจัย      ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตกล้วยไม้ตัดดอก รหัสวิชา 2501-2110 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อผู้วิจัย         นางนงลักษณ์  ลิ้มวนานนท์
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 3 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานพืชศาสตร์ ที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการผลิตกล้วยไม้ตัดดอก รหัสวิชา 2501-2110 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 255 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการผลิตกล้วยไม้ตัดดอก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีที่ 3 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานพืชศาสตร์ ที่เรียนวิชาการผลิตกล้วยไม้ตัดดอก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 6 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วน และหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย(Mean)
          ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากทุกรายการ








ชื่องานวิจัย     ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาการผลิตโคนมโคเนื้อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสัตวศาสตร์และสาขาวิชาสัตวรักษ์
ชื่อผู้วิจัย         นายสมพงษ์  สุวรรณมาลี
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตโคนมโคเนื้อ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสัตวศาสตร์และสาขาวิชาสัตวรักษ์ แผนกวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตโคนมโคเนื้อ เพื่อให้ผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตโคนมโคเนื้อ
          กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสัตวศาสตร์และสาขาวิชาสัตวรักษ์ แผนกวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 20 คน
          เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตโคนมโคเนื้อ วิเคราะห์ผลการทดลองโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนมากที่สุดในทุกด้านโดยด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอนของครูผู้สอน ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิคการสอน ด้านการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผล มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 4.32 4.47 4.49 และ 4.44 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ย 4.20 – 5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด)







ชื่องานวิจัย      การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการผลิตเห็ด ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชื่อผู้วิจัย         นายอรัญ  ภมร
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาและประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้ได้เกณฑ์ 80/80  2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการผลิตเห็ดของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3)ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาหลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเทคโนโลยีราชบุรี จำนวน 9 คน เครื่องมือเครื่องใช้ในการวิจัย คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาผลิตเห็ด แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย t-test แบบ Dependent เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการผลิตเห็ด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษา คือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการผลิตเห็ด มีประสิทธิภาพ 81.09/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2/1 ระหว่างการเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผลปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักศึกษามีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากที่สุดกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน







ชื่องานวิจัย      การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์1 หน่วยเรียนที่ 4 กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์
ชื่อผู้วิจัย         นางสุธีรา  ขวัญประชาสี
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยในชั้นเรียน เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 1 (3000-1420)ในระดับชั้น ปวส.1 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบทำให้นักศึกษามีผลการเรียนที่ดีขึ้นมีความรู้เพิ่มขึ้นโดยการสอนด้วยนวัตกรรมเช่น แผนการสอน เอกสารประกอบการสอน ภาพประกอบการสอน ตัวอย่างของจริง ตัวอย่างของจำลอง แผนภาพ สไลด์PowerPoint
          กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์1 2) ตัวแปรต้นคือ เอกสารประกอบการสอน ภาพประกอบการสอน ตัวอย่างของจริง ของจำลอง แผนภาพและสไลด์PowerPoint ของหน่วยเรียนที่ 4 กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยเรียนที่ 4 กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ 3) ตัวแปรตามคือ ผลการสอนของครูที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น สถิติที่ใช้ คือวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียน หน่วยเรียนที่ 4 กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ มาทำการวิเคราะห์ผล โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 1 หน่วยเรียนที่ 4 กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 โดยการสอนด้วย เอกสารประกอบการสอน ภาพประกอบ ตัวอย่างของจริง และสไลด์PowerPoint ของหน่วยเรียนที่ 4 กายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ เมื่อเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละหลังสอนมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละก่อนสอน สรุปได้ว่าผลการสอนโดยวิธีนี้ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 2) เจตคติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 1 ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 โดยการสอนด้วยเอกสารประกอบการสอน ภาพประกอบ ตัวอย่างแผนภาพ สไลด์ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น








ชื่องานวิจัย      ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาโภชศาสตร์สัตว์ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 สาขาสัตวศาสตร์และสาขาสัตวรักษ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
ชื่อผู้วิจัย         นางสาวระพีพร  แพงไพรี
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นระดับชั้น ปวส.1 สาขาสัตวศาสตร์และสาขาสัตวรักษ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 เพื่อหาข้อมูลที่ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์และปรับปรุงเนื้อหา ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชา และได้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเกื้อหนุนเช่น ห้องสมุดและสามารพตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้อย่างถูกต้องและทันต่อความต้องการของนักศึกษา โดยการใช้แบบสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์และสาขาสัตวรักษ์ ที่มีต่อการเรียนการสอนในวิชาโภชนศาสตร์สัตว์ โดยแบ่งเป็นด้านความรู้ ความสามารถในรายวิชาที่สอน ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิคการสอน ด้านการใช้สื่อประกอบการสอนและด้านการวัดผลประเมินผลวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ยและร้อยละ
          จากผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิคการสอน ด้านการใช้สื่อประกอบการสอนและด้านการวัดผลประเมินผล อยู่ในระดับพอใจมาก









ชื่องานวิจัย      การพัฒนารูปแบบการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรครูในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ชื่อผู้วิจัย         นายจิรัฏฐ์  สวัสดิพัชรกุล
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี กระบวนการยอมรับเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการยอมรับ และรูปแบบการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัยฯ ที่มีประสิทธิภาพ การดำเนินการวิจัย ดังนี้ สร้างเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบสังเกต และแบบสอบถาม เพื่อศึกษากระบวนการตามแนวทางการยอมรับนวัตกรรมของ โรเจอร์ส 5 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นความรู้ 2)ขั้นการจูงใจ 3)ขั้นการตัดสินใจ 4)ขั้นการนำไปใช้ และ 5)ขั้นการยืนยัน แล้วนำเครื่องมือที่ได้ไปทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อกลับมาปรับปรุงแก้ไข และนำแบบสอบถามไปใช้เก็บข้อมูลจากประชากรที่แท้จริง คือ บุคลากรครูของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี จำนวน 43 คน โดยได้ข้อมูลตอบกลับมา คิดเป็นร้อยละ 93.02 (40ชุด) ผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในวิทยาลัย ด้วยกัน 3 ด้าน คือ 1)ด้านนโยบายและภาพลักษณ์ที่ทันสมัยและสอดคล้องกับหลักสูตร และพระราชบัญญัติการศึกษา 2)ด้านครูผู้สอนจากระบบการเรียนการสอนเดิมเปลี่ยนแปลงบทบาทของจากผู้ให้ความรู้มาเป็นผู้คอยช่วยเหลือสนับสนุน และติดต่อรับข้อมูลข่าวสารกับฝ่ายงานอื่น ๆ ภายในวิทยาลัยฯ 3)ด้านผู้เรียนมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้รูปแบบการทำงานของครูในวิทยาลัย ต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับผู้เรียนและระบบการเรียนการสอนโดยมีผู้เรียนเป็นสำคัญ กระบวนการการยอมรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในวิทยาลัย เป็นขั้นที่ 4 ในกระบวนการยอมรับ พอสรุปได้ดังนี้ ขั้นความรู้ (Knowledge) (1) ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดนโยบายตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 9 เรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยเริ่มให้ข้อแนะนำแก่ครูผู้สอน และส่งเสริมการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ครูของวิทยาลัย (2)จัดฝึกอบรมภายในวิทยาลัยเพื่อทำให้ครูมีความรู้เพิ่มขึ้น (3)ครูและนักเรียนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภายในวิทยาลัย ขั้นการจูงใจ (Persuasion) (1)ผู้อำนวยการย้ำถึงนโยบาย และจูงใจให้บุคลากรภายในวิทยาลัยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (2)มีโครงการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ให้กับบุคลากร (3)จัดคอมพิวเตอร์ให้ครูได้ใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ขั้นการตัดสินใจ (Decision) (1)ผู้อำนวยการกำหนดให้ทุกส่วนงานเชื่อมโยงระบบการทำงานเข้ากับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในวิทยาลัย (2)เกิดฝ่ายงานที่เข้ามาดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นนำไปใช้(Implementation) (1)ครูและบุคลากรในวิทยาลัยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน (2)ในการจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรต่าง ๆ มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ร่วมด้วย เงื่อนไขที่ทำให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม 4 ด้าน คือ (1) ลักษณะของนวัตกรรมจะต้องสร้างรูปแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถมองเห็นผลจากการทดลองปฏิบัติ หรือการใช้งานเพื่อให้เห็นผลได้จริง มีกระบวนการในการปฏิบัติซึ่งเห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อผู้สอนมีความเห็นว่าดีจริงจึงจะเลือกใช้นวัตกรรมนั้นได้อย่างจริงจังและถาวร (2)ด้านสภาพแวดล้อมต้องคำนึงถึงความแตกต่างระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ฐานะทางสังคม กับปัจจัยส่วนบุคคลเพราะมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรม (3)ตัวบุคคลเป็นส่วนที่ทำให้เกิดบุคลิกภาพความชอบ/ไม่ชอบ ความกลัว/ไม่กลัว ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมที่แตกต่างกัน (4)การสนับสนุนจากผู้บริหารเริ่มแรกผู้อำนวยการมีอำนาจและงบประมาณในการสนับสนุนได้อย่างเต็มที่ซึ่งถือเป็นวิธีการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโดยวิธีการคุมอำนาจ ทำให้ได้รูปแบบการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ที่มีประสิทธิภาพ









ชื่องานวิจัย     ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการขับเคลื่อนยานพาหนะ รหัสวิชา 2501-1002 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อผู้วิจัย         นายสุพจน์  ตุ้มมล
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานพืชศาสตร์ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการขับเคลื่อนยานพาหนะ รหัสวิชา 2501-1002 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการขับเคลื่อนยานพาหนะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานพืชศาสตร์ ที่เรียนวิชาการขับเคลื่อนยานพาหนะ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 32 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป SPSS/PC for window version 11.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
          ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ( =4.33) ด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน ( =4.32) ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิควิธีการสอน ( =4.29) และด้านการใช้สื่อประกอบการสอน ( =4.06)










ชื่องานวิจัย     ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาชั้น ปวช.2 ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร (2000-1422)
ชื่อผู้วิจัย         นางจิรภา  ชำนาญรบ
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาปวช.2 ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร (2000-1422) โดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับชั้นปวช.2 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร (2000-1422) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 34 คน การศึกษาครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป SPSS/PC for window version 9.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
          ผลการวิจัย พบว่านักศึกษามีความคิดเห็นต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร (2000-1422) โดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 65.00 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระหว่าง 1.00-1.99 มากที่สุด และไม่เคยทำกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร้อยละ 76.00 ในภาพรวมนักศึกษามีความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก ( =3.44, S.D. =1.21)
          ข้อเสนอแนะ กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรัก ความสามัคคี และรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม และควรคำนึงถึงความสมัครใจ








ชื่องานวิจัย      ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์และสาขาวิชาสัตวรักษ์
ชื่อผู้วิจัย         นางเรณู  สอนศิริ
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์และสาขาวิชาสัตวรักษ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
          กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์และสาขาวิชาสัตวรักษ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 13 คน
          เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี วิเคราะห์ผลการทดลองโดยใช้ค่าเฉลี่ย
จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนมากที่สุดในทุกด้าน โดยด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอนของครูผู้สอน ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิคการสอน ด้านการใช้สื่อประกอบการสอน และด้านการวัดผลประเมินผล มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 4.33 4.28 4.15 4.30 และ 4.43 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ย 4.29 – 5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด)








ชื่องานวิจัย      ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการพัฒนาความเป็นผู้นำเกษตรกร รหัสวิชา 2500-1001 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อผู้วิจัย         นายสมพงค์  คำอุ่น
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรแลเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่วิจัย           2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานเกษตรทั่วไป ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการพัฒนาความเป็นผู้นำเกษตรกร รหัสวิชา 2500-1001 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการพัฒนาความเป็นผู้นำเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานเกษตรทั่วไป ที่เรียนวิชาการพัฒนาความเป็นผู้นำเกษตรกร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษษ 2554 จำนวน 31 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC for window version 9.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
          ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด โดยนักศึกษามีความพึงพอใจระดับมากที่สุด จำนวน 3 ด้าน และระดับมาก จำนวน 2 ด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ คือ 1) ด้านความรู้ ความสามารถในรายวิชาที่สอน 2) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน 3) ด้านอื่น ๆ 4) ด้านการใช้สื่อประกอบการสอน และ 5) ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิควิธีการสอนตามลำดับ







ชื่อเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิต รหัสวิชา 3000-0101 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ชื่อผู้วิจัย         นายสมปอง  พรประเสริฐ
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ สาขาสัตวรักษ์ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิต รหัสวิชา 3000-0101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ สาขาสัตวรักษ์ ที่เรียนวิชาการพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC for window version 11.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
           ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจระดับมากที่สุดและระดับมาก จำนวน 2 ด้านเท่ากัน เรียงตามลำดับ ดังนี้ คือ 1)ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิควิธีการสอน 2)ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน 3)ด้านการใช้สื่อประกอบการสอน และ 4) ด้านความรู้ ความสามารถในรายวิชาที่สอน ตามลำดับ








ชื่อเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช รหัสวิชา 3502-2002 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ชื่อผู้วิจัย         นางวาสนา  กองผัด
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขางานพืชสวน ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช รหัสวิชา 3502-2002 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช รหัสวิชา 3502-2002ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาที่เรียนวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช รหัสวิชา 3502-2002 และมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขางานพืชสวน ที่เรียนวิชา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 18 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC for window version 9.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก โดยนักศึกษามีความพึงพอใจระดับมากที่สุดและระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ คือ
1) ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิควิธีการสอน 2) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน 3) ด้านการใช้สื่อประกอบการสอน และ 4) ด้านความรู้ ความสามารถในรายวิชาที่สอน ตามลำดับ








ชื่อเรื่องงานวิจัย  การพัฒนาทักษะการคำนวณวิธีเพียร์สันสแควร์นักศึกษาชั้น ปวช.2 และปวช.3 ที่เรียนวิชาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โดยใช้ชุดกิจกรรม
ชื่อผู้วิจัย         นายคณากร  ถาวรกสิวัฒนกุล
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาทักษะการคำนวณวิธีเพียร์สันสแควร์ ของนักศึกษาชั้น ปวช.2 และปวช.3 ที่เรียนวิชาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โดยใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้น ปวช.2 และปวช.3 สาขาวิชาพืชศาสตร์ และสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ที่ลงทะเบียนรายวิชาผลิตภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 10 คน ชุดกิจกรรมที่ใช้ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 เรื่องสัดส่วน กิจกรรมที่ 2 เรื่องการคำนวณวิธีเพียร์สันสแควร์
          ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะการคำนวณวิธีเพียร์สันสแควร์ของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยทำคะแนนได้ เฉลี่ย 7.8 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 78% และนักศึกษาแต่ละคนทำคะแนนได้ไม่ต่ำกว่า 70% ของคะแนนเต็ม








ชื่อเรื่องงานวิจัย  การพัฒนานักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำโดยใช้เทคนิคเสริมเรียนในรายวิชาภาษไทยเพื่ออาชีพ 2
ชื่อผู้วิจัย         นางจันทร์เพ็ญ  ธรรมสังวาลย์
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และเจตคติในการเรียน วิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี โดยใช้เทคนิคเสริมแรงในการสอบ
          กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ปีการศึกษา 2554 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรม แบบสังเกตและแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษไทยเพื่ออาชีพ 2 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคการเสริมแรงสูงขึ้น 2) นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำโดยใช้เทคนิคเสริมแรงมีพฤติกรรมการสนใจเรียนเพิ่มขึ้น









ชื่อเรื่องงานวิจัย  ผลการใช้วิธีจัดทีมแข่งขันที่มีผลต่อความสามารถสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำแบบพื้นบ้าน
ชื่อผู้วิจัย         นายภัทระ  เรืองอินทร์
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณสูตรอาหารสัตว์น้ำโดยใช้วิธีเรียนที่สร้างความน่าสนใจในบทเรียนเรื่องการผลิตอาหารสัตว์รายวิชาการเลี้ยงปลา ระดับชั้นปวช.1 สาขาสัตวศาสตร์ โดยใช้วิธีจัดทีมแข่งขันให้ผู้เรียนที่มีระดับผลการทดสอบดีและไม่ดีได้มีโอกาสช่วยเหลือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีวิธีจงใจโดยตั้งคะแนนพิเศษสำหรับผู้ชนะการแข่งขัน และได้นำผลการทดลองหลังจากใช้วิธีเรียนนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบหาข้อสรุปในรูปของตารางประกอบคำบรรยาย เพื่อศึกษาผลการพัฒนาของผู้เรียน
          ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับ ปวช.1 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ที่เลือกลงทะเบียน รายวิชาการเลี้ยงปลา ภาคเรียนที่ 1/2554 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบการสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำก่อนและหลังการใช้วิธีจัดทีมแข่งขัน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ
          ผลการศึกษาปรากฏว่า ผลคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดทีมแข่งขัน 5 คะแนน ร้อยละ 50 หลังการใช้วิธีจัดทีมแข่งขัน นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ย 8.45 เพิ่มขึ้น 3.45 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.5 เพิ่มขึ้น 34.5 คะแนน แสดงว่านักศึกษาที่เรียนรู้โดยวิธีจัดทีมแข่งขันมีความสามารถสร้างสูตรอาหารดีขึ้น







ชื่อเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาเวชภัณฑ์พื้นฐานในงานฟาร์มปศุสัตว์ รหัสวิชา 3504-2003 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ชื่อผู้วิจัย         นายสุวิทย์  จันละคร
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาสัตวรักษ์ สาขางานสัตวรักษ์ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาเวชภัณฑ์พื้นฐานในงานฟาร์มปศุสัตว์ รหัสวิชา 3504-2003 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาเวชภัณฑ์พื้นฐานในงานฟาร์มปศุสัตว์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาสัตวรักษ์ สาขางานสัตวรักษ์ ที่เรียนวิชาเวชภัณฑ์พื้นฐานในงานฟาร์มปศุสัตว์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 4 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
          ผลการวิจัยพบว่าในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิควิธีการสอน 2) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน 3) ด้านการใช้สื่อประกอบการสอน และ 4 ด้านความรู้ ความสามารถในรายวิชาที่สอน ตามลำดับ








ชื่อเรื่องงานวิจัย  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ 4 ชั้นปวส.1 โดยใช้เรื่องเล่าของ Zeno’x
ชื่อผู้วิจัย         นายวิชัย  ทองปวงทิพย์
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้น ปวส.1 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ระดับ ปวส.1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 4 กิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เรื่องเล่าของ Zeno’s แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ของนักศึกษาระดับ ปวส.1 สูงขึ้น หลังจากการเรียนโดยการใช้ กิจกรรมการเล่าเรื่องของ Zeno’s









ชื่อผู้วิจัย           นายสงวนศักดิ์  มณีล้ำ
ชื่อเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาไฟฟ้าในฟาร์ม รหัสวิชา 2501-2403 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
        การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานพืชศาสตร์ สาขางานสัตวศาสตร์ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาไฟฟ้าในฟาร์ม รหัสวิชา 2501-2403 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาไฟฟ้าในฟาร์ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานพืชศาสตร์ สาขางานสัตวศาสตร์ ที่เรียนวิชาไฟฟ้าในฟาร์ม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 13 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC for window virsion 11.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
        ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน (( =3.71) ด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน ( =3.64) ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิควิธีการสอน ( =3.94) และด้านการใช้สื่อประกอบการสอน( =3.79)





 
ชื่อเรื่องงานวิจัย  การพัฒนาสมรรถนะเครื่องคัดขนาดไข่ไก่ระบบทุ่นลอยปริมาตรลดระดับ
ชื่อผู้วิจัย         นางสาวยุพา  ชื่นเนียม
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาการพัฒนาสมรรถนะเครื่องคัดไข่ไก่ระบบทุ่นลอยปริมาตรลดระดับ เป็นการประดิษฐ์เครื่องคัดขนาดไข่ไก่ ใช้หลักการลอยตัวและการจมของวัตถุ เป็นการเปรียบเทียบแรงลอยตัวหรือการจมของวัตถุให้เป็นมาตรวัดน้ำหนักของวัตถุ วัตถุที่มีมวลมากจะจมลงลึกจะแสดงผลมีน้ำหนักมาก เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อทดสอบสมรรถนะที่เป็นปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลถึงสมรรถนะในการออกแบบระบบทุ่นลอย ที่เป็นส่วนชั่งน้ำหนักไข่ของเครื่องคัดขนาดไข่ไก่ พัฒนาการออกแบบในลักษณะพิเศษเฉพาะ ที่เป็นหลักการสำคัญต่อสมรรถนะการทำงานของเครื่องคัดขนาดไข่ไก่ในการคัดแยกเกรดไข่ การวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบแนวคิดในการทำงานของเครื่องคัดขนาดไข่ไก่ระบบทุ่นลอยต้นแบบ กับเครื่องคัดขนาดไข่ไก่ระบบทุ่นลอยปริมาตรลดระดับ โดยวิเคราะห์ความสมดุลของปัจจัยที่มีผลต่อระบบ คือ ปริมาตรการแทนที่น้ำของทุ่นลอย และการจมของทุ่นลอย สะท้อนผลและพัฒนาสู่เครื่องคัดขนาดไข่ไก่ระบบทุ่นลอยปริมาตรลดระดับ แบ่งการทดสอบเป็น 3 ชุดการทดลอง โดยเปรียบเทียบการคัดขนาดไข่ไก่ 1,000 - 1,500 ฟอง ด้วยการคัดด้วยเครื่องชั่งละเอียด คัดด้วยมือ และคัดด้วยเครื่องระบบทุ่นลอย ใช้เวลา 5 วัน พบว่า ความถูกต้องในการคัดขนาดไข่ไก่ ด้วยเครื่องคัดขนาดไข่ไก่ระบบทุ่นลอยปริมาตรลดระดับ คิดเป็นร้อยละ 94.80 และความคลาดเคลื่อนในการคัดขนาดไข่ไก่คิดเป็นร้อยละ 10.40 ระดับสมรรถนะอยู่ในระดับสูง การออกแบบปรับปรุงปริมาตรการแทนที่น้ำของทุ่นลอยลดลงไม่เท่ากัน ลดระดับไม่เท่ากันทั้งแท่ง มีผลต่อการจมลงของทุ่นลอย ทำให้ความถูกต้องในการคัดขนาดไข่ไก่เพิ่มสูงขึ้นจากต้นแบบ คิดเป็นร้อยละ 24.60 การคิดค้นเครื่องคัดขนาดไข่ไก่ระบบทุ่นลอยปริมาตรลดระดับใช้เพียงเทคโนโลยีแบบง่าย ๆ ค่าใช้จ่ายต่ำ มาใช้ในการแก้ปัญหาการคัดขนาดไข่ไก่ที่มีน้ำหนักต่างกันเป็นกรัมและเปลือกไข่แตกร้าวได้ง่าย จึงเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 ที่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำหลักการนี้ไปปรับปรุงใช้กับกิจการอื่น ๆ





ชื่อเรื่องงานวิจัย  การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพร ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งน้อยหน่า
ชื่อผู้วิจัย         นายดำรง  ชำนาญรบ
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพร ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งน้อยหน่ามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งน้อยหน่าใช้แผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) ประกอบด้วย 2 ซ้ำ 11 สิ่งทดลอง คือ 1. ควบคุม 2. ผักคราดหัวแหวน 3. พริกไทย 4. ตะไคร้หอม 5. ยาสูบ 6. บอระเพ็ด 7. กระเทียม 8. แมงลักคา 9. ยี่โถ 10. น้อยหน่า 11. พริกขี้หนู
          การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (percentage) ผลการทดลองพบว่า
          1. จำนวนเพลี้ยแป้งน้อยหน่าที่ตายโดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรแต่ละชนิดในเวลา 15 นาที จากการศึกษาปรากฏว่า สารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งน้อยหน่าเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ พริกขี้หนู ตะไคร้หอม ยาสูบ แมงลักคา ผักคราดหัวแหวน ยี่โถ กระเทียม พริกไทย บอระเพ็ด น้อยหน่า และควบคุม
          2. จำนวนเพลี้ยแป้งน้อยหน่าที่ตาย โดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรแต่ละชนิดในเวลา 30 นาทีจากการศึกษาปรากฏว่า สารสกัดพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งน้อยหน่าเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ พริกขี้หนู ผักคราดหัวแหวน ตะไคร้หอม ยาสูบ แมงลักคา บอระเพ็ด ยี่โถ กระเทียม น้อยหน่า พริกไทย และควบคุม
          3. จำนวนเพลี้ยแป้งน้อยหน่าที่ตาย โดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรแต่ละชนิดในเวลา 60 นาทีจากการศึกษาปรากฏว่า สารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งน้อยหน่าเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ พริกขี้หนู ยาสูบ ผักคราดหัวแหวน ตะไคร้หอม แมงลักคา ยี่โถ บอระเพ็ด น้อยหน่า กระเทียม พริกไทย และควบคุม
          4. จำนวนเพลี้ยแป้งน้อยหน่าที่ตาย โดยใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรแต่ละชนิดในเวลา 120 นาทีจากการศึกษาปรากฏ สารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งน้อยหน่าเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ พริกขี้หนู ยาสูบ ตะไคร้หอม ผักคราดหัวแหวน แมงลักคา น้อยหน่า บอระเพ็ด กระเทียม พริกไทย และควบคุม

ชื่อเรื่องงานวิจัย  ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาผสมเทียม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสัตวศาสตร์และสาขาวิชาสัตวรักษ์
ชื่อผู้วิจัย            นายยศศักดิ์  รีเงิน
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
        การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการผสมเทียม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสัตวศาสตร์และสาขาวิชาสัตวรักษ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผสมเทียม เพื่อให้ผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสัตวศาสตร์และสาขาวิชาสัตวรักษ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 13 คน
        เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกผสมเทียมโค โดยใช้ปืนฝึก วิชาการผสมเทียม วิเคราะห์ผลการทดลองโดยใช้ค่าเฉลี่ย
        จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน มากที่สุดในทุกด้าน โดยด้านความรู้ความสามารถในการผสมเทียมโค มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 4.33 4.28 4.15 4.30 และ 4.43 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ย 4.29 -5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด)






ชื่อเรื่องงานวิจัย  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการผลิตโค นักศึกษาชั้น ปวช.1 โดยใช้เอกสารประกอบการสอน
ชื่อผู้วิจัย           นายกมล  จตุรภัทรไพศาล
สถานที่วิจัย       วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา          2554

บทคัดย่อ
            การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการผลิตโค ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพเอกสาตประกอบการเรียนวิชาการผลิตโค รหัส 2501-2203 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาการผลิตโค 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนวิชาการผลิตโค รหัส 2501-2203 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขางานสัตวศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 21 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด การศึกษาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนวิชาการผลิตโค รหัส 2501-2203 โดยเทียบกับเกณฑ์ 80/80 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการสอนโดยการค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยการทดสอบค่าที (t-test) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนวิชาการผลิตโค รหัส 2501-2203 ใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการศึกษาพบว่า
        1. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการผลิตโค รหัส 2501-2203 มีประสิทธิภาพของกระบวนการเฉลี่ย เท่ากับ 83.60 และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 83.02 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80
        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนวิชาการผลิตโค รหัส 2501-2203
                2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาการผลิตโค รหัส 2501-2203 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเฉลี่ยเท่ากับ 0.71
                2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาการผลิตโค โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้เอกสารประกอบการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการผลิตโค รหัส 2501-2203 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ในระดับมาก ทุกรายการ






ชื่อเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการหลักการเลี้ยงสัตว์น้ำ รหัสวิชา 2501-2205 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อผู้วิจัย           นางไมตรี  มณีล้ำ
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
            การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชชีพ (ปวช.) ปีที่ 2 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานสัตวศาสตร์ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการเลี้ยงสัตว์น้ำ รหัสวิชา 2501-2205 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการเลี้ยงสัตว์น้ำ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) ปีที่ 2 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานสัตวศาสตร์ ที่เรียนวิชาการเลี้ยงสัตว์น้ำ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 7 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วน และหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean)
           ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก ทุกรายการ





 
ชื่อเรื่องงานวิจัย  การวิจัยและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205)
ชื่อผู้วิจัย           นางคนึงนิจ  แววประเสริฐ
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205) ให้มีประสิทธิ์ภาพตามเกณฑ์
        2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้น ปวส.2 ก่อนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205)
        3. เพื่อศึกษาความคิดเป็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205)
สมมุติฐานของการวิจัย
        1. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักศึกษาชั้น ปวส.2 หลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205) สูงกว่าก่อนการเรียน
        3. นักศึกษามีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205)
วิธีดำเนินการวิจัย
        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้น ปวส.2 สาขาวิชาพืชศาสตร์และสาขาวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 17 คน
        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205) และแบบวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205) โดยนำไปใช้กับนักศึกษากลุ่มตัวอย่างแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอน โดยใช้เกณฑ์ E1/E2(80/80) ค่าเฉลี่ย ( )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนและหลังการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่จัดทำขึ้นโดยใช้ Paired t-test และวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( )และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนจากแบบสอบถาม
ผลการวิจัย
        ผลการวิจัยพบว่า เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205) มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
        ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป (3000-1205) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
        นักศึกษามีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษทั่วไป โดยค่าเฉลี่ยรวมของคะแนนความคิดเห็นของนักศึกษา เท่ากับ 3.89 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.96





ชื่อเรื่องงานวิจัย  ความพึงพอใจในแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 6 ของนักศึกษาชั้น ปวช.1
ชื่อผู้วิจัย            นายสำเร็จ  ชมภูนิช
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
        การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจในแบบเรียนวิชา คณิตศาสตร์ประยุกต์ 6 ของนักศึกษาชั้น ปวช.1 สาขาวิชาพืชศาสตร์และสาขาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี จำนวน 50 คน โดยใช้แบบประเมิน จากนั้นจึงวิเคราะห์ผลความพึงพอใจในแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 6 โดยการหาค่าร้อยละ
        ผลการประเมินปรากฏว่า นักศึกษาชั้น ปวช.1 มีความพึงพอใจแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 6 ในเรื่องเนื้อหา, ภาษา, ตัวอักษร, แบบปก, ภาพประกอบ, ตัวอย่าง, การประยุกต์เนื้อหา, ราคา, แบบฝึกหัด และการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่านักศึกษาชั้น ปวช.1 มีความพึงพอใจในแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 6 อยู่ในเกณฑ์ดี





ชื่อเรื่องงานวิจัย  ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาผลิตภัณฑ์สัตว์ รหัสวิชา 2501-2302 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อผู้วิจัย            นางปณิตา  เปี่ยมจุฑา
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
            การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาผลิตภัณฑ์สัตว์ รหัสวิชา 2501-2302 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาผลิตภัณฑ์สัตว์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) ชั้นปีที่ 3 มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาผลิตภัณฑ์สัตว์ รหัสวิชา 2501-2302 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 34 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากร 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วน และหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean)
        ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก ส่วนด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน ด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านที่ 2 ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิคการสอน ด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านที่ 4 ด้านการวัดผลและประเมินผล ส่วนด้านที่นักศึกษาพึงพอใจอยู่ในระดับดีน้อย ได้แก่ ด้านที่ 3 ด้านการใช้สื่อประกอบการสอน






ชื่อเรื่องงานวิจัย  การประเมินตนเองด้านสมรรถนะอาชีพสุกร ตามแนวทางมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวชาชีพกลุ่มเกษตรและอาหาร สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษา ของนักศึกษาสาวิชาสัตวรักษ์ วิทยาลัยเกษตร
ชื่อผู้วิจัย           น.สพ.พิเชษฐ  ประจงทัศน์
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
การสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาวิชาสัตวรักษ์ในด้านการประเมินตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมรรถนะอาชีพสุกร โดยนำแบบประเมินมาจากมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพกลุ่มเกษตรและอาหาร สำนักงานมาตรฐานการอาชีวศึกษา มาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานเพื่อ เพื่อสำรวจความคิดเห็นในการประเมินตนเองด้านสมรรถนะอาชีพสุกรของนักศึกษาสาขาสัตว์รักษ์ ประจำปีการศึกษา 2554 รวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในสาขาวิชาสัตวรักษ์ให้สอดคล้องกับการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวเกษตร เป็นการเตรียมตนเองเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับชั้น ปวส.2 สาขาวิชาสัตวรักษ์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินตนเองด้านสมรรถนะอาชีพสุกรของมาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพกลุ่มเกษตรและอาหาร สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษา แบบประเมินกำหนดมาตราเป็น 5ระดับ และกำหนดค่าเป็นคะแนนในแต่ละรายการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC for windows 11.0 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสถิติได้แก่ สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
        ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในระดับมากด้านอาชีพสุกร คือ การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากผลพลอดได้ของสุกร ( =4.00, S.D. = 0.71)การจัดการสุขอนามัยและสภาพแวดล้อมในฟาร์มสุกร ( =3.92, S.D. = 0.86)ความสามารถในระดับปานกลาง คือ การพัฒนากระบวนการจัดการเลี้ยงดูสุกรพ่อพันธุ์ ( =6.32, S.D. = 0.77)การพัฒนากระบวนการจัดการเลี้ยงดูสุกรแม่พันธุ์ ( =3.69, S.D. = 0.75)การพัฒนากระบวนการจัดการเลี้ยงดูสุกร อนุบาล รุ่น ขุน และการเตรียมสุกร ( =3.69, S.D. = 0.75)การพัฒนาคุณภาพซากสุกร ( =3.62, S.D. = 0.65)พัฒนาการบริหารจัดการมาตรฐานฟาร์มสุกร ( =3.62, S.D. = 0.87)ความสามารถในระดับน้อย ได้แก่ การวางแผนการปรับปรุงพันธุ์สุกร ( =3.31, S.D. = 0.48)การพัฒนาปัจจัยการผลิต ( =3.23, S.D. = 0.73)





ชื่อเรื่องงานวิจัย  ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น รหัสวิชา 2501-2103 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อผู้วิจัย           นายประดิษฐ์  กองผัด
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
        การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น รหัสวิชา 2501-2103 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตไม้ผลไม้ยืนต้น รหัสวิชา 2501-2103 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 8 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC for windows version 9.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
        ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก ส่วนด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด มี 2ด้าน ได้แก่ด้านที่ 1 คือด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน และด้านที่ 4 ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน ส่วนด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก มี 2 ด้านได้แก่ ด้านที่ 2 คือด้านความสามารถในการถ่ายทอดแลเทคนิคการสอน และด้านที่ 3 คือด้านที่เกี่ยวกับการใช้สื่อประกอบการสอน




ชื่อเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาผลิตภัณฑ์พืช รหัสวิชา 2501-2301 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อผู้วิจัย            นางผ่องศรี  โรจน์รัตนชัย
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
        การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาผลิตภัณฑ์พืช (2501-2301) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาผลิตภัณฑ์พืช (2501-2301) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ที่เรียนรายวิชา ผลิตภัณฑ์พืช (2501-2301) จำนวน 10 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC for windows version 9.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจระดับมาก







ชื่อเรื่องงานวิจัย  ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตสารชีวภาพเพื่อการเกษตร รหัสวิชา 2501-2106 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อผู้วิจัย            นางอารีรัตน์  เอี่ยมอำนวย
สถานที่วิจัย        วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา           2554

บทคัดย่อ
        การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตสารชีวภาพเพื่อการเกษตร รหัสวิชา 2501-2106 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตสารชีวภาพเพื่อการเกษตร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาการผลิตสารชีวภาพเพื่อการเกษตร รหัสวิชา 2501-2106 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 14 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Excelเพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
        ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก ส่วนด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด มี 1 ด้าน ได้แก่ด้านที่ 1 คือด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน ส่วนด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก มี 3 ด้านได้แก่ ด้านที่ 2 คือด้านความสามารถในการถ่ายทอดแลเทคนิคการสอน ด้านที่ 3 คือด้านที่เกี่ยวกับการใช้สื่อประกอบการสอนและด้านที่ 4 ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน




ชื่อเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาโครงการทางสัตวรักษ์ (3504-6001) ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.2 สาขาสัตวรักษ์ ปีการศึกษา 2554
ชื่อผู้วิจัย         นางสาวระพีพร  แพงไพรี
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.2 สาขาสัตวรักษ์ เพื่อหาข้อมูลที่ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์และปรับปรุงเนื้อหา ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชา และได้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเกื้อหนุนเช่น ห้องสมุดและสามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้อย่างถูกต้องและทันต่อความต้องการของนักศึกษา โดยการใช้แบบสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาสัตวรักษ์ในระดับชั้น ปวส.2 ที่มีต่อการเรียนการสอนในวิชาโครงการ โดยแบ่งเป็นด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิคการสอน ด้านการใช้สื่อประกอบการสอนและด้านการวัดผลประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          จากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน ด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิคการสอน ด้านการใช้สื่อประกอบการสอนและด้านการวัดผลประเมินผล อยู่ในระดับดีมาก




 
ชื่อเรื่องงานวิจัย ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์เกษตร รหัสวิชา 3500-0101 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ชื่อผู้วิจัย         นายอรรณพ  ไกรทอง
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 27 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PCfor window version 11.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
          ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก เรียงตามลำดับมากและมากที่สุดทุกด้าน




 
ชื่อเรื่องงานวิจัย  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้น ปวช.2 วิชาศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษ (2000-1237) ที่สร้างด้วยโปรแกรม Hot Potatoes Version 6
ชื่อผู้วิจัย         นางสาวรัตนา  ผาสุก
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปวช.2 ที่เรียนวิชาศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษ (2000-1237) ในภาคเรียนที่ 2/2554 ที่มีต่อแบบทดสอบที่สร้างจากโปรแกรม Hot Potatoes Version 6
          2. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแบบทดสอบชุดนี้
          3. เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม Hot Potatoes ในวิชาอื่นๆ ต่อไป
วิธีดำเนินการวิจัย
          นักเรียนตอบแบบสำรวจความคิดเห็นเมื่อทำแบบทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์วิชาศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษ (2000-1237) ครบ 27 แบบทดสอบแล้ว
          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบทดสอบคอมพิวเตอร์วิชาศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษที่สร้างด้วยโปรแกรม Hot Potatoes Version 6 แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ
          ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ
          ตอนที่ 2 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ เป็นแบบสอบถามให้นักเรียนเลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่งจากตัวเลือกที่ให้มา และแบบสอบถามแบบปลายเปิด ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะอื่นๆ โดยอิสระ
          การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และค่าร้อยละ (Percentile)
ผลการวิจัย
          ระดับความยากง่ายของข้อสอบส่วนมากอยู่ในระดับเหมาะสม เหมาะสมมากที่สุด แต่ต้องปรับปรุงแบบทดสอบ Mixed Up Crossword และ Unscrambled Words ในเรื่องความยากง่าย




ชื่อเรื่องงานวิจัย  ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.3/2 ที่มีต่อครูผู้สอนวิชาการใช้รถแทรกเตอร์และเครื่องมือทุนแรงการเกษตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
ชื่อผู้วิจัย          นายพงศ์ชาติ  ปานสุข
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาความรู้สึกที่นักศึกษาได้รับ ได้สัมผัสในขณะที่เรียนวิชาการใช้รถแทรกเตอร์และเครื่องมือทุนแรงการเกษตร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ว่ามีความพึงพอใจในกระบวนการเรียนการสอนอยู่ในระดับใดบ้าง เพื่อครูผู้สอนจะได้นำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข และส่งผลให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
          ประชากรที่ทำการศึกษา คือ นักศึกษารับชั้น ปวช.3/2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี ที่เรียนวิชาการใช้แทรกเตอร์และเครื่องมือทุนแรงการเกษตร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 37 คน
          โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้น ปวช.3/2 ทีมีต่อครูผู้สอนวิชาการใช้แทรกเตอร์และเครื่องมือทุนแรงการเกษตร ในภาคเรียนที่ 2/2554 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ที่ใช้สอบถามเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับชั้นปวช.3 ที่มีต่อครูผู้สอน
          ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับชั้น ปวช.3 ที่เรียนวิชาการใช้แทรกเตอร์และเครื่องมือทุ่นแรงการเกษตรที่มีต่อครูผู้สอนอยู่ในระดับ มาก (X=4.34) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความพึงพอใจที่มีต่อครูผู้สอนด้านความสามารถในการถ่ายทอดและเทคนิคการสอน (x=4.39) ความพึงพอใจที่มีต่อครูผู้สอนด้านการวัดผลประเมินผล (x=4.33) ความพึงพอใจที่มีต่อครูผู้สอนด้านความรู้ความสามารถในรายวิชาที่สอน (x=4.32) ความพึงพอใจที่มีต่อครูผู้สอนด้านการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน (x=4.30) ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในระดับมาก


ชื่อเรื่องงานวิจัย  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์และเจตคติของนักศึกษาชั้น ปวส.2 วิชาโครงการ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
ชื่อผู้วิจัย         นางสาวยุพา  ชื่นเนียม
สถานที่วิจัย      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
ปีที่ศึกษา         2554

บทคัดย่อ
          รายงานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนวิชาโครงการ รหัสวิชา 3503-6001 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขางานการจัดกการผลิตสัตว์ ชั้นปีที่ 2วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโครงการของนักศึกษา
          กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขางานการจัดการผลิตสัตว์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี จำนวน 20 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่วิจัย คือ เอกสารประกอบการเรียนวิชาโครงการ แบบทดสอบ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบ 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของเครื่องมือ และทดสอบที
          ผลการศึกษาปรากฏว่า
          1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาโครงการของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี หลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มที่ทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความก้าวหน้าของผลการเรียนเพิ่มขึ้น 81%หรือมีค่า E.I เท่ากับ 0.81
          2. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อเอกสารประกอบการสอนวิชาโครงการ ความคิดเป็นของนักศึกษามีความคิดเห็นมากที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 3.43 ด้านความสมบูรณ์ของเนื้อหา ครูมีความคิดเห็นมาที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 ด้านเนื้อหาวิชาเหมาะสมกับระดับผู้เรียน ซึ่งแสดงว่า เอกสารประกอบการเรียนวิชาโครงการมีความสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น